วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดโรงเรียน

การจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดโรงเรียนเมืองเชลียง
ห้องโรงเรียนเมืองเชลียง จัดเก็บหนังสือทั่วไปตามระบบการจัดหมวดหมู่
แบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) โดยการจัดหนังสือเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิคเป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ ดังนี้
สัญลักษณ์ เนื้อหาเกี่ยวกับ
000 เบ็ดเตล็ด ความรู้ทั่วไป ห้องสมุด ปกิณกะ
100 ปรัชญา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ โหราศาสตร์ และจริยศาสตร์
200 ศาสนา
300 สังคมศาสตร์ (สถิติ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
กฎหมาย รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ การศึกษา
การคมนาคม การขนส่ง ขนบธรรมเนียม มารยาทและ
ประเพณีพิธีกรรมต่างๆ
400 ภาษาศาสตร์ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น
เป็นต้น
500 วิทยาศาสตร์ทั่วไป เช่น คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี
ชีววิทยา พฤกษศาสตร์ และสัตวศาสตร์
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี แพทยศาสตร์ โรคต่างๆ
วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ อาหารต่าง บริหารธุรกิจ
โรงงานและการก่อสร้าง
700 ศิลปะ วิจิตรศิลป์ต่างๆ การออกแบบ การเขียนแบบ
สถาปัตยกรรม การวาดเขียน การถ่ายภาพ กีฬาและ
นันทนาการ ดนตรี
800 วรรณคดี การเขียน การประพันธ์ สุนทรพจน์ การโต้วาที และ
การอ่านออกเสียง
900 ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว ชีวประวัติ และประวัติศาสตร์ประเทศ
ต่างๆ


นอกจากนี้เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บหนังสือ บรรณารักษ์ห้องสมุดยังได้ติดแถบสีดังนี้
000 สีชมพู
100 สีขาว
200 สีฟ้า
300 สีเขียว
400 สีม่วงเข็ม
500 สีนำตาล
600 สีเหลือง
700 สีดำ
800 สีม่วงอ่อน
900 สีแดง
คู่มือสอบ สีเขียวอ่อน
และเพื่อความสะดวกในการค้นหาหนังสือห้องสมุดได้จัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ติดตั้งโปรแกรม (PLS) เพื่อค้นหารายชื่อหนังสือไว้ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ความหมายของห้องสมุด
คำว่า “ห้องสมุด” หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Library” ปัจจุบันมีคำเรียกอื่น ๆ แทนคำว่า ห้องสมุด เช่น ศูนย์วัสดุการศึกษา ศูนย์การเรียนรู้ สถาบันวิทยาบริการ เป็นต้น
ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมเอกสาร สิ่งพิมพ์หลายประเภทเป็นข่าวสารข้อมูล มีการจัดซื้อ และจัดหาเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ มีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ให้บริการโดยพิจารณาประโยชน์ของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ
ความสำคัญของห้องสมุด
ห้องสมุดมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบ ในขณะที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนได้มีการจัดห้องสมุดให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า เพื่อสร้างนิสัยรักการศึกษาค้นคว้า รู้จักหาความรู้ พัฒนาตนเองเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันห้องสมุด จึงมีความสำคัญดังนี้
๑. เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
๒. เป็นสถานที่ที่ทุกคนได้เลือกศึกษาหาความรู้อย่างอิสระด้วยตนเอง
๓. เป็นสถานที่ให้บริการข่าวสารที่ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
๔. ช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน รักการค้นคว้า
๕. ช่วยให้บุคคลรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๖. ช่วยให้บุคคลตระหนักถึงการใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง

วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นแห่งรวมวิทยาการต่าง ๆ ทุกคนที่เข้าใช้ห้องสมุด สามารถเลือกอ่านหนังสือได้ตามความต้องการ และความสนใจของแต่ละบุคคล ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้มีนิสัยรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าและหาความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานต่าง ๆ จึงตั้งห้องสมุดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ
๑. เพื่อการศึกษา (Education) ห้องสมุดจัดหาและรวบรวมเอกสาร สิ่งพิมพ์ที่เป็นข่าวสารข้อมูล เพื่อสนองตอบความต้องการศึกษาค้นคว้าของผู้ใช้ห้องสมุด เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเป้าหมายของการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วหรือผู้ที่มิได้ศึกษาขั้นสูงอาจใช้ห้องสมุดศึกษาต่อไปได้ตลอดชีพ
๒. เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร (Information) ห้องสมุดจัดเก็บเอกสารสิ่งพิมพ์ที่เป็นข่าวสารข้อมูล ประเภทหนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร ทุกสาขาวิชาไว้บริการเพื่อให้ผู้ใช้ได้ ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว ของเหตุการณ์ปัจจุบันและความก้าวหน้าทางวิชาการ เป็นการสนองความต้องการศึกษาค้นคว้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
๓. เพื่อการค้นคว้าวิจัย (Research) ห้องสมุดเป็นสถานที่จัดเก็บเอกสารสิ่งพิมพ์ที่เป็นข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลประเภทสถิติ รายงานการวิจัย และหนังสืออ้างอิง เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้นคว้าวิจัยของนักวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ เป็นการเสริมสร้างความงอกงามทางด้านวิชาการต่อไปในอนาคต
๔. เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) เอกสารสิ่งพิมพ์ที่เป็นข่าวสารข้อมูลในห้องสมุดนอกจากจะให้ความรู้ทางวิชาการแล้วยังมีบางประเภทที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสุขทางใจ ความซาบซึ้งประทับใจในเรื่องราวที่อ่าน เช่น เรื่องชีวประวัติของบุคคลสำคัญที่ทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
๕. เพื่อนันทนาการ หรือการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) การอ่านหนังสือเป็นการพักผ่อนหย่อนใจที่ดีที่สุด ให้ความเพลิดเพลินและพึงพอใจ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เอกสาร สิ่งพิมพ์ที่เป็นข่าวสารข้อมูลในห้องสมุดนอกจากจะมีเนื้อหาทางด้านวิชาการแล้ว ยังมีหนังสือประเภทนวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินผ่อนคลายความตึงเครียด

ประเภทของห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร แบ่งตามลักษณะการให้บริการได้เป็น ๕ ประเภท คือ
๑. ห้องสมุดโรงเรียน ทำหน้าที่จัดหาหนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ทุกสาขาวิชาตามความสามารถของนักเรียนในโรงเรียน และให้คลุมเนื้อหาที่มีอยู่ในหลักสูตร นำมาจัดให้เป็นระบบเพื่อสะดวกแก่การใช้ และสร้างเสริมให้นักเรียนเกิดนิสัยรักการอ่านอันนำไปสู่การใช้ห้องสมุดประเภทอื่น ๆ
๒. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย มุ่งส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาของตนให้ดำเนินการสอน การวิจัย บริการทางวิชาการ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไปสู่จุดหมายปลายทางที่วางไว้ วัสดุห้องสมุดตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ให้แก่อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในสถาบัน อุดมศึกษาเหล่านั้น
๓. หอสมุดแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติจะมีทุกประเทศ แต่จะแตกต่างกันในเรื่องขนาดและขอบเขตของสารนิเทศในห้องสมุด ทำหน้าที่รวบรวมและรักษาวรรณกรรมต่าง ๆ ของชาติเป็นเบื้องต้น ส่วนหน้าที่อื่น ๆ อาจแตกต่างกันออกไปตามคุณภาพของแต่ละชาติ บางแห่งอาจรวบรวมเอกสารและสารนิเทศต่าง ๆ ของชาติอื่น ๆ ในโลก กล่าวได้ว่า หอสมุดแห่งชาติของชาติใด ๆ ก็ตามจะมีนโยบายที่จะบริการเอกสารและสารนิเทศต่าง ๆ แก่บุคคลทั้งในชาติและนักวิจัยตลอดจนผู้เชี่ยวชาญของชาติอื่น ๆ ด้วย
๔. ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดประชาชนที่ดีจะให้โอกาสและสนับสนุนให้ผู้ใช้ห้องสมุดทุกเพศทุกวัยได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นพลเมืองดีของชาติ สามารถยกระดับการดำรงชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความผาสุกส่วนตัว ตลอดจนความเป็นอยู่ที่ของสังคม ประเทศไทยจัดห้องสมุดประชาชนเพื่อให้บริการทั้งระดับอำเภอและจังหวัด นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดเคลื่อนที่ทั้งทางบกและทางน้ำมาบริการประชาชน มีตารางให้บริการตามวัน
เวลาและสถานที่ที่แน่นอน ห้องสมุดประชาชนจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล สำนักงานเขตหรือเทศบาล และความช่วยเหลือจากภาคเอกชน
๕. ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดของหน่วยงานราชการ บริษัท สมาคม องค์การระหว่างประเทศ ผู้ใช้ห้องสมุดเหล่านี้เป็นคนเฉพาะกลุ่ม หนังสือและสารนิเทศต่าง ๆ ของห้องสมุดจำกัดวงแคบเฉพาะวิชาของหน่วยงานที่สังกัดหรืออาจเน้นหนักในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น แพทย์ นักกฎหมาย เป็นต้น

เปิดบริการทำบัตรสมาชิกห้องสมุด

ประกาศ

ห้องสมุดเปิดให้บริการทำบัตรสมาชิกห้องสมุดและต่ออายุบัตรสมาชิกห้องสมุด
ประจำปีการศึกษา 2553
ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2553 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2553 นี้
นักเรียนคนใดสนใจติดต่อได้ที่ห้องสมุดโรงเรียน