วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักเรียนควรอ่าน......

วันนี้อยากจะมาพูดคุยถึงเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ เพราะความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อเด็กมาก ทำให้เด็กสามารถสร้างสรรค์ความคิด มีจินตนาการ ส่งผลทำให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพตามหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โโยเฉพาะในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลางของความคิดสร้างสรรค์ไว้ 4 ลักษณะ ประกอบไปด้วย
1. ความคิดริเริ่ม (Originality) คือ ลักษณะความคิดที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับของเดิม ไม่เคยปรากฏมาก่อน
2. ความคล่องในการคิด (Fluency) คือ ความสามารถในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว และ
มีปริมาณมากในเวลาจำกัด
3. ความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility) คือ ความสามารถในการหาคำตอบได้หลายประเภทและหลาย
ทิศทาง
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) คือ ความคิดในรายละเอียด เพื่อตกแต่งหรือขยายความคิดหลักให้สมบูรณ์

จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบทั้ง 4 ข้อ ที่นำมานี้ เด็กสามารถฝึกและปฏิบัติตามได้ ดังนั้นเรามาเริ่มกันตั้งแต่อ่านบทความนี้จบเลยดีว่า

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หนังสือห้องสมุด

ประกาศ
เรียนครูอาจารย์และนักเรียนทุกคน ตอนนี้ห้องสมุดได้สำรวจรายชื่อหนังสือที่ต้องการอ่านหรือใช้ประกอบการเรียนการสอน ในภาคเรียนที่ 2/2553 โดยให้ส่งรายชื่อได้ที่ครูพวงเพชร แก้วเกต หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้

ภัยธรรมชาติที่อาจเกิดโดยไมคาดฝัน.....

อุทกภัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในปัจจุบันภัยธรรมชาติเกิดขึ้นได้เสมอ เสมือนอยู่ใกล้ตัวเราเข้าไปทุกทีบางคนบอกว่าไม่เคยพบไม่เคยเห็นเหตุการณ์ที่น่ากลัวเหล่านี้ดังนั้นเราควรมาทำความรู้จักกับคำว่า ---อุทกภัย---กันก่อนดีว่า
อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ

1 ชนิดของอุทกภัย
2 การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย
3 ภัยพิบัติครั้งสำคัญในประเทศไทย
4 อ้างอิง

ชนิดของอุทกภัย
น้ำป่าหลาก เกิดจากฝนตกหนักบนภูเขา หรือต้นน้ำลำธารและไหลบ่าลงที่ราบอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีต้นไม้ ช่วยดูดซับ ชะลอกระแสน้ำ ความเร็วของน้ำ ของท่อนซุง และต้นไม้ ซี่งพัดมาตามกระแสน้ำจะทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน และชีวิตมนุษย์และสัตว์จนได้รับความเสียหาย.
น้ำท่วมขัง น้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติท่วมแช่ขัง ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก เกิดโรคระบาดได้ ทำลายพืชผลเกษตรกร
คลื่นซัดฝั่ง เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วมบริเวณชายฝั่งทะเล บางครั้งมีคลื่นสูงถึง 10 เมตร ซัดเข้าฝั่งซึ่งสามารถทำลายทรัพย์สินและชีวิตได้
การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย
ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ เมื่อใดที่กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง
ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลาก จากภูเขาที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำจะรวดเร็วมาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลาย ๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง
ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคม ควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไร
กระแสน้ำหลากจะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ และพืชไร่ ต้องระวังกระแสน้ำพัดพาไป อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม อย่าลงเล่นน้ำ อาจจะประสพอุบัติภัยอื่น ๆ อีกได้
หลังจากน้ำท่วม จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค โดยต้มให้เดือดเสียก่อน
ภัยพิบัติครั้งสำคัญในประเทศไทย
ภัยพิบัติครั้งสำคัญในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2526
2526 - กรุงเทพมหานคร
2531 - ตำบลกะทูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
2538 - กรุงเทพมหานคร
2543 - อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
2544 - ตำบลน้ำก้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีผู้เสียชีวิต 147 คน
2544 - จังหวัดแพร่
2547 - เขตเทศบาลแม่ระมาด จังหวัดตาก
2548 - 8 จังหวัดภาคใต้
2548 - จังหวัดเชียงใหม่
2549 - 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
2553 - 21 จังหวัด ภาคกลางและภาคอีสาน

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเพณีการทอดกฐินชาวหาดเสี้ยว

เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว กำหนดจัดงานอนุรักษ์และสืบสานประเพณีการแห่กฐินทางน้ำ แข่งเรือ (เฮือซ่วง) ประเพณีลอยกระทง และเทศกาลอาหาร ประจำปี 2553 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2553 ณ บริเวณเขื่อนเรียงหิน หมู่ 2 เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย เพื่ออนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ (เฮือซ่วง) ให้คงอยู่สืบไป ซึ่งความเป็นมาของประเพณีแห่องค์กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ หรือชาวบ้านเรียกว่า (เฮือซ่วง) เป็นการทำบุญในเทศกาลทอดกฐินของชาวไทยพวน ที่นิยมทอดกันตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือน 12 และถือว่าการทอดกฐินได้บุญมาก ผู้มีจิตศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐิน ต้องเขียนหนังสือแสดงความจำนงจะทอดกฐินในวัน เดือน ปี นั้น ๆ ไปติดประกาศไว้ที่วัด เรียกว่า จองกฐิน ในอดีตการทอดกฐินถ้าไปทอดที่วัดห่างไกลจากหมู่บ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันแห่ไปแล้วทอดให้เสร็จในวันเดียว หากทอดที่วัดประจำในหมู่บ้าน หรือวัดใดวัดหนึ่งใกล้ ๆ กัน จะต้องมีการแห่วันหนึ่ง ทอดวันหนึ่ง การแห่คือ การจัดเครื่องกฐิน เรียกว่า กองกฐิน ลงเรือยาวขนาดใหญ่ ซึ่งจัดสร้างขึ้นไว้ในการนี้โดยเฉพาะ แล้วประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ตามความนิยมของชาวบ้านหาดเสี้ยว ก่อนจะแห่ขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งบรรดาชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งแม่น้ำ เมื่อได้ยินพิณพาทย์แห่กฐินมา จะพากันอุ้มลูกจูงหลานมาดูมาชมอย่างคับคั่ง ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ จะถือเครื่องไทยธรรม มารอคอยอยู่ที่ท่าน้ำเพื่อร่วมอนุโมทนาด้วย เมื่อเรือกฐินผ่านมา จะแวะเข้าไปรับทุก ๆ แห่ง จนสุดหมู่บ้านแล้ววนกลับ ในการแห่กฐินนี้พวกเด็กเล็กในหมู่บ้านที่ทอดกฐิน ต่างพากันร้องไห้กระจองอแง ขอให้พ่อแก่นำไปแห่กฐินด้วย พ่อแม่จำเป็นจะต้องพาลงเรือพายเรือแจวไปร่วมกับเรือกฐิน แต่ประเพณี ดังกล่าวเริ่มจะจางหายไปตามกาลเวลา คนรุ่นหลังก็ยังให้ ความสนใจประเพณี นี้ไม่มากนัก ทั้งนี้ ทางผู้บริหาร และคณะเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว จึงได้ฟื้นฟูและสนับสนุนประเพณีแห่กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ (เฮือซ่วง) ขึ้น ซึ่งคาดว่า จะได้รับความพึงพอใจจากชาวตำบลบ้านหาดเสี้ยว และคนสุโขทัย พร้อมทั้งนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สำคัญอีกอย่างของคนสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นเมืองวัฒนธรรมและเมืองมรดกโลก ซึ่งพร้อมจะสืบสานประเพณีนี้ให้คงอยู่คู่กับชุมชนเทศบาลตำบลหาดเสี้ยวและ ประชาชนชาวหาดเสี้ยวต่อไป


ที่มา ---srisatchanalai.com