ชุดกิจกรรมการเรียนรู้การซ่อมหนังสือ

หน่วยที่ 1 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ
          คำชี้แจงในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชางานห้องสมุด (ง 33101)
เรื่องการซ่อมหนังสือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
หน่วยที่ 1 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับหนังสือ
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดนี้ใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชางานห้องสมุด(ง 33101) เรื่องการซ่อมหนังสือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้นักเรียนปฏิบัติดังนี้

1. ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้ประจำหน่วย
2. ศึกษาเนื้อหาตามขั้นตอนที่กำหนดให้
3. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ชุดนี้ใช้เวลาเรียน 3 ชั่วโมง โดยมีเนื้อหาดังนี้
     3.1 ประวัติความเป็นมาของหนังสือ
     3.2 ความหมายของหนังสือ
     3.3 ประเภทของหนังสือ
          3.3.1 หนังสือสารคดี
          3.3.2 หนังสือบันเทิงคดี
     3.4 ความสำคัญและประโยชน์ของหนังสือ
4. อ่านคำชี้แจงในกิจกรรมการเรียนรู้ให้เข้าใจ ก่อนลงมือปฏิบัติทุกครั้ง
5. กิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนดให้ นักเรียนต้องปฏิบัติให้เสร็จทันเวลาที่กำหนด
6. กิจกรรมการเรียนรู้ทุกกิจกรรมมีการวัดผลและประเมินผล

                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เวลา 3 ชั่วโมง

*******************************************************************

จุดประสงค์การเรียนรู้ประจำหน่วย
นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ความหมาย ประเภท ความสำคัญและประโยชน์ของหนังสือ
จุดประสงค์การเรียนรู้ย่อย
1. อธิบายประวัติความเป็นมาของหนังสือได้
2. บอกความหมายของหนังสือได้
3. วิเคราะห์และแยกประเภทหนังสือได้
4. บอกความสำคัญและประโยชน์ของหนังสือได้

          เชื่อกันว่าชาวสุเมเรียน (Sumerian) เป็นพวกแรกที่รู้จักเขียนหนังสือโดยใช้เหล็กแหลม งา หรือไม้เขียนลงบนแผ่นดินเหนียว ตัวอักษรที่เขียนมีลักษณะคล้ายรูปลิ่ม จึงเรียกว่า อักษรลิ่ม (Cunieform) ชาวสุเมเรียนรู้จักเขียนอักษรลิ่มมาตั้งแต่ประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล
ชาวอียิปต์เป็นพวกที่สองที่รู้จักเขียนหนังสือ โดยใช้พู่กันทำจากต้นหญ้าและหมึกทำจากถ่านไม้บดละเอียดผสมกาว ซึ่งทำมาจากยางพืชเขียนลงบนแผ่นปาปิรัส (papyrus) มาตั้งแต่ 3,500 ปี
ก่อนคริสตกาล ตัวอักษรที่ชาวอียิปต์สมัยนั้นเขียน เรียกว่า อักษรภาพ (Hieroglyphic) (กำธร สถิรกุล. 2537 : 148)      ชาวจีนเป็นผู้รู้จักการทำกระดาษขึ้นใช้เป็นพวกแรกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ไม่ได้ทำเป็นอุตสาหกรรมชาวเยอรมันโดย จอห์น กูเตนเบิร์ก (John Gutenberg) ได้คิดค้นการพิมพ์หนังสือขึ้นในต้นศตวรรษที่ 15 ทำให้การผลิตหนังสือทำได้ง่ายขึ้น
          จีนเป็นชาติแรกที่รู้จักทำหนังสือแบบเย็บเล่ม ( Stitched books ) ส่วนหนังสือเย็บเล่มในยุโรป ระยะแรกบาทหลวงตามวัดต่างๆ ผลิตหนังสือออกมาโดยใช้วิธีเขียนตัวหนังสือลงบนแผ่นหนังสัตว์ฟอก แล้วจึงเย็บรวมเป็นเล่มคล้ายกับหนังสือในปัจจุบัน แต่เป็นหนังสือขนาดใหญ่ต้องวางไว้ประจำบนโต๊ะ เขียนด้วย ตัวอักษรลวดลายประดิษฐ์บรรจงระบายสีสวยงามเรียกว่า illuminated book
         จนกระทั่ง อัลดัส มานูทิอูส (Aldus Manutius) ชาวอิตาลีได้คิดสร้างตัวพิมพ์
ขนาดเล็กและจัดพิมพ์หนังสือขึ้น ลักษณะรูปเล่มหนังสือจึงมีขนาดเล็กลงและที่สำคัญการพิมพ์หนังสือได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ การผลิตหนังสือทำได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว สวยงามทั้งรูปเล่ม ปก สี และตัวอักษร ทำให้หนังสือในยุคปัจจุบันน่าอ่านมากขึ้น
            ในภาษาไทยคำว่า “หนังสือ” เริ่มใช้มาตั้งแต่สมัยใดนั้นไม่ปรากฏหลักฐาน
แน่ชัด แต่คำเดิมที่เคยใช้เรียกมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย คือ “ลายสือ” ซึ่งใช้เรียกอักษรที่จารึกไว้ว่า
“ลายสือไทย” ในสมัยต่อมา สันนิษฐานว่ามีการเขียนตัวอักษรบันทึกลงบนแผ่นหนังสัตว์จึงเรียกสิ่งที่ขีดเขียนนั้นว่า “หนังสือ” ต่อมาหนังสือทำจากใบของต้นลานที่เรียกว่า “ใบลาน” ซึ่งมีลักษณะคล้ายใบของต้นตาล วิธีการเขียนใช้เหล็กแหลมขีดเจาะรอยหรือเรียกว่า "จาร" ลงบนใบลาน จากนั้นนำเขม่าไฟผสมน้ำมันยางลูบประคบ ให้สีดำฝังลงรอยที่จารไว้แล้วลบพื้นหน้าให้สะอาด นำมาร้อยต่อกันหลายแผ่นให้เป็นเล่มเปิดพับพลิกไปมาได้แต่ละเล่มเรียกว่า “หนึ่งผูก” ต่อมามีการเขียนหนังสือลงบนกระดาษที่ทำขึ้นจากเปลือกของต้นข่อยมีลักษณะเป็นแผ่นยาว ทำให้เป็นเล่มโดยการพับกลับไปกลับมาเรียกชื่อว่า “สมุดข่อย” มี 2 ชนิดคือสีดำและสีขาว จึงเรียกว่า สมุดไทยดำ และสมุดไทยขาว เรื่องราวที่เขียนลงในสมุดข่อยหรือสมุดไทย เป็นเรื่องเกี่ยวกับบทสวดมนต์ สุภาษิต นิทาน วรรณคดี ตำรายาฯลฯ ต่อมาเมื่อมีการตั้งโรงพิมพ์ขึ้นในประเทศไทย และมีการพิมพ์หนังสือเข้าเล่มแบบตะวันตก จึงเรียกสิ่งพิมพ์เข้าเล่ม ในขณะนั้นว่า “สมุดฝรั่ง” เมื่อมีการนำเรื่องราวต่าง ๆ จากสมุดไทยมารวมจัดพิมพ์ลงในสมุดฝรั่ง ถ้าพิมพ์จบเรื่องราวต่างๆ จากสมุดไทยแต่ละเล่มก็จะมีคำว่า “จบหนึ่งเล่มสมุดไทย” (กระทรวงศึกษาธิการ.
กรมวิชาการ. ศูนย์พัฒนาหนังสือ. 2544 : 8)
            ในปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่าหนังสือเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีความสำคัญมาก และ มีคุณค่าต่อผู้อ่านมากมายทั้งด้านความรู้ ความคิด การศึกษาค้นคว้าวิจัย ความบันเทิง และจรรโลงใจแก่ผู้อ่าน

คำชี้แจง ให้นักเรียนนำตัวอักษรหน้าข้อความทางด้านขวามือมาใส่หน้าข้อความทางซ้ายมือเมื่อเห็นว่าข้อความสัมพันธ์กัน

................1. ชาวสุเมเรียน                   ก. ใช้เรียกอักษรที่จารึกในสมัยสุโขทัย
................2. ชาวเยอรมัน                    ข. การใช้เหล็กแหลมขีดเจาะลงบนใบลาน
................3. สมุดข่อย                            แล้วนำเขม่าไฟผสมน้ำมันยางลูบประคบ
................4. ลายสือ                            ค. ทำจากใบของต้นลาน
................5. จาร                                  ง. อักษรลิ่ม
................6. ชาวอียิปต์                       จ. คิดค้นการพิมพ์หนังสือโดยใช้แท่นพิมพ์เป็นประเทศแรก
................7. ชาวจีน
................8. ชาวอิตาลี                        ฉ. แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือสมุดไทยดำและสมุดไทยขาว
................9. หนึ่งผูก
............... 10. สมุดฝรั่ง                         ช. ผลิตกระดาษใช้เป็นประเทศแรก
                                                             ซ. การนำใบลานหลายแผ่นมาร้อยต่อกันเป็นหนึ่งเล่ม
                                                             ฌ. อักษรภาพ
                                                             ญ. การเข้าเล่มแบบประเทศตะวันตก
                                                             ฎ. ประเทศที่สร้างตัวพิมพ์ให้มีขนาดเล็กเหมือนปัจจุบัน
                                                             ฏ. การพิมพ์แบบตัวยก

                                           **************************

              หนังสือเป็นสิ่งพิมพ์ที่เกิดจากความรู้ความคิด สติปัญญาและประสบการณ์ของมนุษย์ ดังมีผู้ให้ความหมายของหนังสือไว้ดังนี้
                  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. ภาควิชาบรรณา
รักษศาสตร์ ( 2538 : 27) ได้ให้ความหมายของหนังสือไว้ว่า หนังสือ เป็นสิ่งพิมพ์ที่บันทึกความคิด
สติปัญญา ความรู้และประสบการณ์ของมนุษย์ นับเป็นเครื่องมือที่ดีและสะดวกที่สุดสำหรับมนุษย์ ในการแสวงหาคำตอบทั้งในด้านวิชาการ อาชีพ เรื่องราวชีวิต ตลอดจนแสวงหาความจรรโลงใจ

                อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย (2538 : 42) กล่าวว่าหนังสือ หมายถึงสิ่งพิมพ์ ที่เย็บเข้าเล่มทำปก มีลักษณะรูปเล่ม ความหนา และขนาดต่างๆ กันโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดและความหนาพอประมาณที่จะจับถืออ่านได้สะดวกเนื้อหาของหนังสือส่วนใหญ่เป็นเรื่องเดียวกันทั้งเล่ม และจบสมบูรณ์ ในเล่มเดียว

                 ชุติมา สัจจานันท์ และพันทิพา มีแต้ม (2540 : 35) กล่าวว่าหนังสือ คือบันทึกความรู้ ความคิด ความเชื่อ ประสบการณ์ และการกระทำของมนุษย์ เป็นรูปเล่มมีการเข้าเล่มและเย็บเล่มอย่างถาวร

                ราชบัณฑิตยสถาน (2546 : 1244) ได้ให้ ความหมายของหนังสือไว้ว่า คือเครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคำพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย จดหมายที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ เอกสาร บทประพันธ์ ; ข้อความที่พิมพ์หรือเขียน เป็นต้น
แล้วรวมเป็นเล่ม ; (กฎ) เอกสารที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น

                   สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ (2546 : 100) กล่าวถึงความหมายหนังสือไว้ว่า หนังสือ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาเฉพาะเรื่อง และเป็นเรื่องเดียวกันอย่างละเอียดทั้งเล่ม
ส่วนใหญ่จะเป็นเอกสารทางวิชาการเพื่อการศึกษาค้นคว้า

                  สุกัญญา กุลนิติ (2549 : 23) กล่าวว่าหนังสือ หมายถึง ทรัพยากรสารนิเทศที่ตีพิมพ์เป็นตัวอักษร อธิบายเรื่องราว เหตุการณ์ วิชาความรู้ต่างๆ เกวลี พิชัยสวัสดิ์ (2550 : 10) ให้ความหมายหนังสือไว้ว่า คือ สิ่งพิมพ์ที่ให้ความรู้ ข้อเท็จจริง ประสบการณ์ เหตุการณ์ หรือมุ่งให้ความบันเทิงแก่ผู้อ่าน

                สุนี เลิศแสวงกิจ และพิศิษฐ์ กาญจนพิมาย (2550 : 36) ได้กล่าวถึงหนังสือไว้ว่า เป็นทรัพยากรสารนิเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์ ทำการบันทึกเรื่องราวความรู้ ความคิด ประสบการณ์ของมนุษย์ ถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษร จัดพิมพ์เป็นเล่ม มีคุณค่าถาวร ในเรื่องหนึ่งๆ อาจมีเล่มเดียวหรือหลายเล่ม หรือเล่มหนึ่งอาจมีหลายเรื่อง

              สรุปได้ว่า หนังสือหมายถึง สื่อสิ่งพิมพ์ที่บันทึกเรื่องราวความรู้ต่างๆ อาจเป็นความคิด ความเชื่อ ข้อเท็จจริง และประสบการณ์ของมนุษย์ โดยใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือในการบันทึก หนังสือจะอยู่ในลักษณะเย็บเล่มเข้าปก ส่วนขนาดความหนาจะต่างกัน หนังสือเล่มหนึ่งอาจมีหลายเรื่องหรือเรื่องหนึ่งอาจมีหลายเล่มขึ้นอยู่กับผู้ผลิต หนังสือจึงเป็นสิ่งพิมพ์ที่มีคุณค่าและมีความสำคัญเสมอ


คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. เนื้อหาหนังสือตามแนวคิดของ “อำไพวรรณ ทัพเป็นไทย” มีลักษณะอย่างไร?

............................................................................................................................

............................................................................................................................

...........................................................................................................................

2. จากข้อความที่กล่าวว่า “หนังสือ เป็นทรัพยากรสารนิเทศประเภทสื่อสิ่งพิมพ์”หมายความว่าอย่างไร ?

..........................................................................................................................

........................................................................................................................

........................................................................................................................

3. ส่วนใหญ่หนังสือโดยทั่วไปมีลักษณะรูปเล่มอย่างไร?

.......................................................................................................................

.....................................................................................................................

4. ความหมายของหนังสือที่กล่าวโดยชุติมา สัจจานันท์ และพันทิพา มีแต้ม นั้น หนังสือมีลักษณะเด่นอย่างไร?

...................................................................................................................

..................................................................................................................

5. ให้นักเรียนสรุปความหมายของหนังสือตามความเข้าใจของตนเองว่ามีลักษณะอย่างไร?

.................................................................................................................

.................................................................................................................

.................................................................................................................



                         *******************************