วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

รายชื่อหนังสือที่นักเรียนยืมมากที่สุดในปีการศึกษา 1/2552

20 ลำดับหนังสือยอดฮิตในห้องสมุดโรงเรียนเมืองเชลียง
ไก่ไข่ ไข่ไก่
พระพุทธเจ้า
ครอบครังตึงหนึด
ไม่ยากถ้าอยากเป็นเด็กดี
ท้าทายสมองซีกขวา
พื้นฐานภาษาญี่ปุ่น
เปิดตำนานเทพเจ้ากรีก
ศึกชิงแชมป์ตึงหนืด
เอาชีวิตรอดในป่าใหญ่
นักบินรบ
พิชิตอาณาจักรเรขาคณิต
คุณแม่สืบสะเด็ด
เดอะไวท์โรด เล่ม 1
ปริศนาปลากระป๋อง
แฮรี่พอตเตอร์ ตอน เจ้าชายเลือดผสม
กว่าจะเป็นหมอ
ล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า
ไม่ยากถ้าอยากฉลาด
เวนิสวานิส
แฮรี่พอตเตอร์ กับห้องแห่งความลับ

ยอดนักอ่านห้องสมุด 1/ 2552


ยอดนักอ่านระดับยอดเยี่ยม


เด็กชายคุณากร สุทะตั้ง

เด็กหญิงอรอุษา เที่ยงตรง

เด็กชายศุภชัย ระวังภัย

เด็กหญิงลลิตา จันทวี

เด็กหญิงนาเดีย เถรว่อง

เด็กชายอภิรมย์ โอ่งอิน

เด็กชายมงคล ตุ่มศรียา

เด็กชายอิทธิพร มีแก้ว

เด็กหญิงเพชราภรณื สีพุทธา

เด็กหญิงเจริญรัตน์ ทองแห้ว

เด็กหญิงวนิดา กัดจิตร

เด็กหญิงมาริษา ช่างเจรจา

เด็กหญิงมัสลิตตา เคราะห์ดี

เด็กชายสุวพิชญ์ มณีพงษ์

เด็กหญิงอภิชญา นุ่มเหล็ก

เด้กหญิงปิ่นอนงค์ เอี่ยมจิตร

เด็กหญิงวรางคนางค์ ทิศอุดร

เด็กหญิงวิภาดา ซอกหอม

นางสาวอรวรรณ สู่บุญ



วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2552

ทวงหนังสือค้างส่ง

ประกาศ นักเรียนที่ยืมหนังสือห้องสมุดไป ให้นำมาส่งคืนที่ห้องสมุดตามเวลาที่กำหนดด้วย ขอบคุณที่ปฏิบัติตามระเบียบของห้องสมุด

วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ค่ายรักการอ่าน

ห้องสมุดจัดทำโครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน ประจำปีการศึกษา 2552
ในเดือนกันยายน 2552 นี้ห้องสมุดร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จัดกิจกรรมเยาวชนรักการอ่าน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 5 คนใดสนใจเป็นพี่เลี้ยงในกิจกรรมนี้สมัครได้ที่
ครูพวงเพชร บรรณารักษ์ห้องสมุด รับจำนวน 20 คน ภายในในวันที่ 27 สิงหาคม 2552 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2552

การเขียนบรรณานุกรม

บรรณานุกรม (Bibliography)
หมายถึง รายชื่อหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ และ วัสดุอ้างอิงทุกประเภทที่ผู้ทำรายงานใช้ประกอบการค้นคว้าและการเรียบเรียง เพื่อเป็นการยืนยันว่าการเขียนนั้นเป็นการค้นความจากตำราที่เชื่อถือได้

การเขียนบรรณานุกรมมีวิธีการดังนี้
1. เขียนคำว่าบรรณานุกรมโดยไม่ต้อวงขีดเส้นใต้ไว้กลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบบนประมาณสองนิ้ว
2. เขียนรายงานบรรณานุกรมแต่ละรายการชิดชอบซ้ายของหน้ากระดาษ หากเขียนไม่จบในบรรทัดเดียวให้ขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้าไป 8 ตัวอักษร (หรือตำแหน่งที่ย่อหน้า)
3. เรียงรายชื่อแต่ละรายการตามลำดับตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง (ก-ฮ)
4. จัดเรียงเอกสารแยกตามประเภท คือ หนังสือ บทความในวารสาร หนังสือพิมพ์ สารานุกรม วิทยานิพนธ์ จุลสาร เอกสารอัดสำเนา และการสัมภาษณ์ หากรายงานเป็นภาษาไทยให้จัดเรียงเอกสารภาษาไทยไว้เป็นอันดับแรก แต่ถ้ารายงานเป็นภาษาอังกฤษ ให้จัดเรียงเอกสารภาษาอังกฤษไว้เป็นอันดับแรก
5. รายการสิ่งพิมพ์ของผู้แต่งเดียวกัน ในครั้งต่อไปไม่ต้องเขียนชื่อผู้แต่งซ้ำอีก แต่ให้ใช้สัญลักษณ์ประกาศ (________________) ยาว 8 ตัวอักษร แทน
6.เว้นระยะ 1 บรรทัด ทุกครั้งเมื่อขึ้นรายการบรรณานุกรมรายการใหม่

การลงรายการบรรณานุกรมมีหลักเกณฑ์และรายละเอียดดังนี้
1.ผู้แต่ง
1.1 ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ใช้ชื่อสกุลขึ้นต้น ตามด้นชื่อต้น และชื่อรอง เช่นชื่อ Chelie C Cooperใช้ Cooper Chelie C.
1.2 ผู้แต่งที่เป็นพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ และผู้แต่งที่มีราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ ให้ใส่ ราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ นั้นไว้ข้างหลังชื่อ โดยหลังชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) ส่วนคำนำหน้านาม เช่น นาย นาง นางสาว ตำแหน่งทางวิชาการ อาชีพ หรือยศ ให้ตัดออกไป ยกเว้น นามแฝง เช่น นายตำรา ณ เมืองใต้, ดร.วินแม็ก, หลังชื่อผู้แต่งให้ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
2. ชื่อเรื่อง ให้ใช้ตามที่ปรากฏในหน้าปกและขีดเส้นใต้เน้นชื่อนั้นด้วย หากเป็นหนังสือหลายเล่มจบ ให้ระบุเล่มที่ใช้ หลังชื่อใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
3. เล่มที่อ้าง หนังสือเล่มเดียวจบ ไม่ต้องระบุจำนวนเล่ม แต่ถ้าหนังสือนั้นมีหลายเล่มให้ระบุเล่มที่ใช้ (เช่น สารานุกรมไทย หรือ Black Law)
4. ครั้งที่พิมพ์ ถ้าเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 2 ขึ้นไปให้ระบุครั้งที่พิมพ์ด้วย หลังครั้งที่พิมพ์ ใส่เครื่องหมาย มหัพภาค (.)
5. สถานที่พิมพ์ ให้ระบุชื่อเมืองที่สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์นั้นตั้งอยู่ โดยใช้ชื่อเมืองตามที่ปรากฏในหนังสือเล่มนั้นๆ หากไม่ปรากฏชื่อเมืองให้ใช้ (ม.ป.ท.) หรือ (n.p) สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ คือ ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ หลังครั้งที่พิมพ์ใส่เครื่องหมายทวิภาค ( ; )
6. สำนักพิมพ์ ใช้ตามที่ปรากฏในหน้าปกใน ในกรณีที่มีทั้งสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ ให้ใช้ชื่อสำนักพิมพ์ คำที่เป็นส่วนของสำนักพิมพ์ เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด Incorporation, Inc. ให้ตัดออก ในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อสำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ ให้ใช้ (ม.ป.ท.) หรือ (n.p.) แทนเพียงครั้งเดียว หลังสำนักพิมพ์ใส่เครื่องหมายจุลภาค (,)
7. ปีที่พิมพ์ ใส่เฉพาะตัวเลข ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ใช้ว่า (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.) ในเอกสารภาษาอังกฤษ ถ้าหนังสือไม่ปรากฏทั้งสถานที่พิมพ์และปีที่พิมพ์ ให้ใช้ว่า (ม.ป.ท., หรือ ม.ป.ป.) หรือ (n.p., n.d.) ในภาษาอังกฤษ หลังปีที่พิมพ์ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)

ตัวอย่างการลงรายการบรรณานุกรม
1. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม หนังสือเล่ม
ชื่อผู้แต่ง.ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์.สำนักพิมพ์.ปีที่พิมพ์.
วิทยากร เชียงกูล. ฉันจึงมาหาความหมาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. หลายชีวิต. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, 2548.
2. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมที่มีผู้แต่ง 2 คน
ชื่อผู้แต่งทั้งสองคน. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.
สมบัติ จำปาเงิน และ สำเนียง มณีกาญจน์. หลักนักอ่าน. กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว, 2531.
3. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมหนังสือที่มีผู้แต่งมากกว่า 2 คน
ชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งคนอื่นๆ.ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.
อธิษกานต์ ไกรภักดี และคนอื่นๆ. การเมืองและการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ปานเทวา
การพิมพ์, 2541.
4. ตัวอย่างการเขียนบรรณารุกรมหนังสือแปล
ชื่อผู้แต่ง.ชื่อหนังสือ.ชื่อผู้แปล.สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.วิลเลี่ยม, สตีเวนสัน.
นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ. ทรงแปลโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2539.
5. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากวิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่ง, “ชื่อวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์.” สาขา และสถาบันการศึกษา, ปีการศึกษา.
ศศิรินทร์ คำบำรุง, “โครงสร้างในด้านข่าวและธุรกิจของศูนย์ข่าวภูมิภาค.” วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์
มหาบัณฑิตสาขาวิชาการหนังสือพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
6. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทสัมภาษณ์
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. ตำแหน่ง (ถ้ามี). สัมภาษณ์,วันที่สัมภาษณ์.
ทักษิณ ชินวัตร. นายกรัฐมนตรี. สัมภาษณ์, 18 มกราคม 2549.

7.ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทความในสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้แต่ง. “ชื่อบทความ” [ประเภทของสื่อที่เข้าถึง] <เข้าถึงได้จาก> (วันที่ค้นข้อมูล)
Pasguier, Roger F. “Owl” [Online]. (Feb. 8, 2006)

8. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสารหรือนิตยสาร
ชื่อผู้เขียนบทความ “ชื่อบทความ” ชื่อวารสาร. ปีที่, ฉบับที่. (เดือน ปี) : เลขที่หน้าอ้างอิง.
อัลยา นฤชานนท์. “ได้อะไรบ้างจากการอ่านสารคดีการท่องเที่ยว.” เที่ยวรอบโลก. 45,
4 (เมษายน 2540) : 36-40.

9. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทความในหนังสือพิมพ์
ชื่อผู้เขียนบทความ, “ชื่อบทความ,” ชื่อหนังสือพิมพ์ (วัน เดือน ปี): เลขหน้าที่อ้างอิง.
สมเจตน์ วัฒนาธร, “กินบนเรือน ขี้บนหลังคา,” เดลินิวส์. ( 7 กรกฎาคม 2549): 14.

10. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทความในสารานุกรม
ชื่อผู้เขียนบทความ, “ชื่อบทความ,” ชื่อสารานุกรม เล่มที่. (ปีที่พิมพ์) : เลขหน้าที่อ้างอิง.

* ทั้งนี้ การลงรายการบรรณานุกรม มักยึดหลักเกณฑ์ตามรูปแบบที่กำหนด ของสถาบันการศึกษานันๆ ดังนั้น รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรมจึงไม่แน่นอน

ขอบคุณมากคะ โดยเฉพาะtames_chan(แอท)hotmail.com ผู้นำมาลงในเวบไซต์นี้

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สาธิตการซ่อมหนังสือและทำสมุดเล่มเล็ก

แจ้งข่าวแก่นักเรียนทุกคน ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม 52 จนถึง วันพฤหัสบดี ที่ 10 กันยายน 52 นี้
ครูพวงเพชร และนักเรียนโครงงานห้องสมุด ม.3 จะไปสาธิตการซ่อมหนังสือและสาธิตการทำสมุดเล่มเล็กโดยเฉพาะสมุดเล่มเล็กจัดจำหน่ายและแจกแก่ผู้เข้าร่วมงานในกิจกรรมศูนย์ธุรกิจ นักเรียนคนใดสนใจ
เชิญชมการสาธิตได้ตั้งแต่ เวลา 10.00 น. ถึง เวลา 14.00 น


วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การพูดภาษาไทย

คนไทยมีภาษาไทยประจำชาติมาแต่โบราณกาล แต่ปัจจุบันนักเรียนส่วนใหญ่มีการอ่าน การพูดที่ไม่ค่อยจะถูกต้องนักอาจเป็นเพราะมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้หรือเพราะความเร่งรีบของสังคมยุคปัจจุบันเป็นตัวแปรก็ไม่อาจทราบได้ ทำให้นักเรียนที่ได้สอนมักจะเขียนหนังสือตามการพูด หรือการใช้ของตนเองเป็นสำคัญ ดังนั้นขอเสนอวิธีฝึกฝนการใช้ภาษาไทยโดยเฉพาะการออกเสียงตัวอักษร ดังนี้
ประการแรก ต้องทดสอบความบกพร่องของตนเอง ว่าตนเองบกพร่องในการออกเสียงอักษรตัวไหน
ประการที่สอง ลองแก้ปัญหา โดยการใช้แบบฝึกหัด การอ่าน การร้องเพลง ให้คนใกล้ชิดช่วยประเมิน
ประการที่สาม มีศรัทธาที่จะแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง
ทั้งหมดนี้เป็นข้อแนะนำอย่างง่าย ที่สามารถนำไปฝึกฝนเพื่อให้สามารถพูด อ่าน และเขียนได้ถูกต้อง

วันภาษาไทยแห่งชาติ

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 52 ที่ผ่านมา ห้องสมุดได้ร่วมจัดงานวันภาษาไทยแห่ง โดยการจัดห้องสมุดเคลื่อนที่ให้นักเรียนได้อ่านหนังสือนอกสถานที่เป็น
การเปลี่ยนบรรยากาศในการอ่าน และได้มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม แข่งขันปริศนาอักษรไขว้ ทายรูปภาพ ใบ้คำ และจัดกิจกรรม
ยอดนักอ่าน มอบเกียรติบัตรแก่นักเรียนที่อ่านหนังสือได้มากที่สุด และบันทึกส่ง งานนี้ห้องสมุดชื่นใจที่ได้กำลังใจจากนักเรียนที่เข้ากิจกรรมทุกคน

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วิธีคิดอย่างคนเก่ง

วิธีคิดอย่างคนเก่ง
1. มองโลกในแง่ดี และทำทุกอย่างอย่างมีความสุข
2. มีศรัทธาในตัวเอง ต้องเชื่อมั่นในตัวเอง
3. มีความตั้งใจจริงที่จะสานฝันเพื่อความสำเร็จ
4. มีบุคคลต้นแบบเพื่อยึดเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินรอยตามโดยศึกษาวิธีคิด การทำงาน พฤติกรรมและจุดเด่น
5. เริ่มต้นในการทำงานด้วยรอยยิ้มที่สดใส พร้อมกับคำพูดที่ว่า เราทำได้


ที่มา : ปลอดภัยใกล้ตัว ฉบับที่ 2 2552

วันอาทิตย์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กระเป๋าเคลื่อนที่สู่ชุมชนของห้องสมุดโรงเรียนเมืองเชลียง

นักเรียนชุมนุมห้องสมุดในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทุกคนที่รับกระเป๋าเคลื่อนที่สู่ชุมชนของห้องสมุดไปเผยแพร่ความรู้ในหมู่บ้านของตนเองเมื่อครบกำหนดแล้วให้นำมาส่งคืนที่ห้องสมุดด้วย ขอบคุณมาก

นักเรียนทุกคน...โปรดทราบ





ห้องสมุดโรงเรียนร่วมกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยร่วมจัดกิจกรรมบันทึกการอ่านสร้างสรรค์ความรู้ โดยทางห้องสมุดได้แจกสมุดบันทึกการอ่านแก่นักเรียนทุกคนให้เริ่มบันทึกสิ่งที่นักเรียนอ่านตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา โดยกิจกรรมนี้จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2552 และมีการแจกเกียรติบัตรสำหรับนักเรียนทุกคนที่อ่านครบตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้




วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รายชื่อหนังสือใหม่

สวัสดีค่ะสมาชิกห้องสมุดโรงเรียนทุกคนโดยเฉพาะ นักเรียนที่เข้ามาอ่านหนังสือและยืมหนังสือ ตอนนี้ห้องสมุดจัดซื้อหนังสือใหม่เพื่อให้บริการแก่นักเรียนทุกคนดังมีรายชื่อดังนี้
1. ยอดบุคคลพิชิตความใฝ่ฝัน
2. ยอดอัจฉริยะตัวจิ๋ว
3. ยอดอัจฉริยะผู้พิชิต
4. ยอดบุคคลผู้เสียสละ
5. WHO
6. มรดกคนอีสาน
7. ตะลุยเมืองพิศวง
8. มรดกคนภาคกลางและภาคตะวันออก
9. สัญญารักหิมะโปรย
10. ไฟฝันวันรัก
11. รัศมี
12. เอาชีวิตรอดด้วยเงิน 30 บาท
13. บารักโอบามา
14. ผจญภัยดำน้ำใต้ทะเล
15. ชุดมหัศจรรย์เล่ม 1-เล่ม 3
16. ย้อนเวลาผจญภัยโลกแห่งหารค้นพบ
17. ผจญภัยอันตรายใกล้ตัว
18. ผจญภัยไปกับโจรสลัด
19. ทดลองวิทย์รอบรู้ เล่ม 1-3
20. อินเลฟทุกวันได้ไหมนี้
21. หนูเกิดมาได้อย่างไร
22.ไปเที่ยวทุกวันได้ไหม
23. เอาชีตรอดในแดนภูเขาไฟ
24. ยอดนักปฏิภาณ
25. เอาชีวิตรอดในพีรามิด เล่ม 1 ถึงเล่ม 3
26. ย้อนอดีตอลวน
27. อาหารหลายรส
28. อาหารจานเด็ด
29. การจัดดอกไม้สด
30. การ์ตูนนิสต์
31.ฤกษ์งามยามดี
32. ทำนายฝัน
33. ปฏิทิน 150 ปี
34. อาหารจานเดียว
35. การใช้ภาษาไทย
36. การใช้ห้องสมุด
37. อียิปต์
38. การส่งเสริมการอ่าน
39. ตะลุยโจทย์ชีววิทยา
40. รวมข้อสอบฟิสิกส์
41. รวมข้อสอบคณิตศาสตร์
42. ภาษาอังกฤษ
43. แบบทดสอบวัดความถนัด
44. รวมโจทย์ เคมี
45. การจัดพานดอกไม้
46. การพับผ้าบนโต๊ะอาหาร
47. การประดิษฐ์พานพุ่ม
48. บทเรียนโปรแกรม
49. การวิจัยในชั้นเรียน
50. อสูรกายที่บ้านจอมพล
51. ต้นไม้ยาน่ารู้
52. วิธีแก้กรรม
53. สงครามอัศวิน
54. ฝึกสมองให้คิดพิชิตความสำเร็จ
55. ภารกิจลับ
56. สวรรค์ลวง
57. กาลเวลา สงคราม
58. นักรบมาซิดอน
59. ตามหาหัวใจ
60. ผจญภัยบนบอลลูน
61. ไม่ยากถ้าอยากมั่นใจ
62. เงาะป่า
63. องคุลิมาน
64. การ์ตูนพุทธประวัติ
65.อาร์คิมิดิส
66. ถามตอบคำถามน่ารู้ เล่ม 1 - เล่ม 2
67. โคลงโลกนิติ
68.ยิ้มบรรลือโลก
69. เส้นทางสู่ฝันนายกรัฐมนตรี
70. ห้องสมุดกับสารนิเทศ
71. เปิดชีวิตเทวดา นางฟ้า
72. มือใหม่หัดใช้คอม
73. CS 3
74. หัวร่อ ขนหัวลุก
75. เจ้ากรรมนายเวร
76. ชีวิตนี้มีอะไร
77. คงกระพัน เมตตา หมานิยม
78. ไม่ต้องดัดจริตก็ผูดอังกฤษได้
79. ตายแล้วไปไหน
80. พิชิตอวกาศ เล่ม 1 และ เล่ม 2
82. ประวัติสุโขทัย เล่ม 1 ถึงเล่ม 6
83. 15 บุคคลสำคัญของโลก
84. 200 เคล็ดโชคดี
85. 7 ราชวงศ์พระมหากษัตริย์ไทย
86. เที่ยวไทยให้สนุก
87. รู้เรื่องน่าทึ่งของโลก
88. สงครามอัศวินวิทยา
89. เจาะตำนานพ่อมด
90. แก๊งเจ้าสัวตัวจิ๋ว
91. ชูเปอร์ อาย คู่หูป่วนเมือง
92. คืนถิ่นจีนใหญ่
93. อยุธยา 99 คำถาม
94. นักสืบหัวเห็ดกับคดีเด็ด
95. การ์ตูนกบนอกกะลา เล่มที่ 1 ถึงเล่มที่ 18
96. ตะลุยแดนปริศนา เล่ม 1 ถึง เล่ม 4
97. แกะรอยความลับหุ่นยนต์
98. บันไดสู่ความเป็นสุดยอดผู้นำ
99. แก๊งเจ้าสัวตัวจิ๊ว
100. ขบวนการพิทักษ์โลก 1 และ 2
101. ไขปริศนาอาณาจักรรูบิท
102. ทะลุมิติบุกพีระมิดทองคำ
103. เอรากอนปริศนา
104. ชุมนุมภาษิตนานาชาติ
105. PHOTOSHOP
106. มือใหม่แก้ปัญหาคอมพิวเตอร์
107. ศิลามณี
108. นอสตราดามุส
109. สมเด็จพระปิยะมหาราช
110. สยามคิอบ้านเรา
111. ต้นกำนิดเทศกาลจีน
112. ฮงกิลดงท่องแดนอารยธรรม
113. ท่องแดนสิ่งมหัศจรรย์
114. ฮงกิลดงน้อยผจญภัย
115. ใครๆก็อยากเป็นสุดยอด
116. นักบินอวกาศ
117. ตามรอยพระพุทธเจ้าเล่ม 1 ถึงเล่ม 9
118. ไวตามินเสริมความรู้ เล่ม 1 ถึงเล่ม 3
119. นิทานกริมม์ แอนเดอร์สัน
120. yum toon
121. แก๊งป่วนกวนเมือง
122. สงครามอัศวินวิทยาศาสตร์
123. ใครๆก็อยากเป็นสุดยอดคุณหมอ
(..ถ้านักเรียนต้องการอ่านหนังสือประเภทไหนเขียนข้อความส่งตรงมาที่ Puangpet_dang@yahoo.com ได้เลย ยินดีต้อนรับเสมอ.....)

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การให้บริการหนังสือพิมพ์

สวัสดีค่ะ คณะครูอาจารย์และนักเรียนโรงเรียนเมืองเชลียงทุกคน ตอนนี้ทางห้องสมุดโรงเรียนได้จัดจุดบริการหนังสือพิมพ์ดังนี้
จุดที่ 1 ห้องสมุดโรงเรียน จำนวน 5 ฉบับ
จุดที่ 2 อาคารภาษาไทย หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
จุดที่ 3 อาคารพละศึกษา หนังสือพิมพ์สยามกีฬา
จุดที่ 4 อาคารศิลปะ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
จุดที่ 5 อาคาร 4 ชั้น 2 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
จุดที่ 6 อาคาร 4 ชั้น 3 หนังสือพิมพ์มติชน
จุดที่ 7 อาคาร 4 ชั้น 4 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
จุดที่ 8 ห้องแนะแนว อาคาร 3 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
จุดที่ 9 อาคาร 2 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
จุดที่ 10 อาคาร 1 หนังสือพิมพ์มติชน

รับสมัครสมาชิกห้องสมุด ปี 2552

ประกาศ
ตอนนี้ห้องสมุดโรงเรียนเมืองเชลียงเปิดรับสมัครสมาชิกห้องสมุดปีการศึกษา 2552 โดยเฉพาะนักเรียนชั้น ม.1 และ ม.4 มีความประสงค์จะทำบัตรสมาชิกกรุณาติดต่อคุณครูพวงเพชร แก้วเกต ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2552 โดยนำ
1. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป (ต้องเป็นรูปถ่ายชุดนักเรียนหรือชุดพละ)
2. ค่าเคลือบบัตรสมาชิก 5 บาท

สำหรับนักเรียนที่อยู่ชั้น ม.2 ม.3 ม.5 และม.6 ให้นำบัตรสมาชิกห้องสมุดมาต่ออายุที่
ห้องสมุดด้วยคะ

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ประกาศจากห้องสมุด

ห้องสมุดงดยืมหนังสือทั่วไปตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 เนื่องจากจะสอบปลายภาค ส่วน หนังสือคู่มือสอบ ยังยืมได้ตามปกติ
จนถึงวันที่ 25 ก.พ. 2552 นี้ และมีกำหนดคืนวันที่ 2 มีนาคม 2552
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้ยืมหนังสือคู่มือเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ในวันที 25-27 ก.พ. 52
ในเวลา 15.30 น ถึง เวลา 16.30 น ยืมได้คนละ 4 ชื่อเรื่อง

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ห้องสมุดปิดบริการ

เนื่องจากวันที่ 2-9 กุมภาพันธ์ 2552 จังหวัดสุโขทัยจัดแข่งขันกีฬา โรงเรียนในจังหวัดสุโขทัยจึงปิดให้นักเรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว
ห้องสมุดโรงเรียนปิดบริการ ดังนั้นนักเรียนที่มีความประสงค์จะยืมหนังสือเพื่ออ่านเตรียมตัวสอบยืมได้ที่ห้องสมุดตามเวลาที่กำหนด

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

รายชื่อหนังสือใหม่

1. ชุดนิทานพระพุทธเจ้า 2. ชุดเปิดโลกใต้สมุทร 3. รอบรู้โลกวิทย์ 4. สุภาษิตสำนวนไทย 5. จ้าวแผ่นดินไทย 6. ออมน้อยก็รวยได้
7. รวใปรแกรมกราฟฟิก 8. คู่มือสร้างเว็บไซตืด้วยตนเอง 9. รวมโปรแกรมกำจัดไวรัส 10. พูดอังกฤษง่ายนิดเดียว 11. พจนานุกรมไทย-ญี่ปุ่น
12. Adm- เคมี 13. Adm-ฟิสิกส์ 14. Adm-ชีวะ15. Adm-คณิต 16. Adm-สังคม 17. Adm-ภาษาไทย 19. แก้ปัญหาคอม 20. Photoshop 21. สร้างสรรค์งานการ์ตูน 22. ผจญภัยไปกับเอสกิโม 23. ผจญภัยไปกับอินเดียแดง 24.ล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า 25.นักบินอวกาศ เล่ม 1 และ2 26. ผจญภัยอันตรายใกล้ตัว 27. ผจญภัยบนเส้นทางวิบาก 28. ผจญภัยเกาะดึกดำบรรพณ์ 29.ผจญภัยบนเส้นทางสายไหม 30.สร้างเสริมจินตนาการ 31. ผจญภัยบนยอดเขา 32.ฝึกพัฒนาการสังเกต 33. สารพัดสอบได้ที่ 1 34. พิชิตอาณาจักรเรขาคณิต 35.ผจญภัยโลกล้านปี 36.ความรู้นอกกะลา เล่ม 1 37. ความรู้นอกกะลา เล่ม 2 38. ความรู้นอกกะลา เล่ม 3 39. กว่าจะเป็นหมอ 40.นิทานอีสป 41. โลกถล่ม 42. มหัตภัยอุกกาบาต 43. กบนอกกะลาไหมไทย 44. หมึกบดหมึกหมด 45.ตะลุยยุคหินแผ่นดินไทย 46. นิทานคณิตศาสตร์ 47. มหัตภัยพายุ 48. มหันตภัยอาหารหมด 49.โลกของเรา 50. ฟาสฟูดส์วายร้าย 51. ทฤษฎีควอนตัม 52. ตามล่าพลอยจันทร์อัญมณีสุดขอบฟ้า 53. นิทานบันเทิงธรรมะ 54.พระพุทธประวัติ 55.ไม่ยากถ้าอยากดูดี 56.พลังงาน 57. ภารกิจพิชิตอวกาศ 58. สมอง 59. ภารกิจพิชิตโรค 60. ต้นไม้ในพระพุทธศาสนา 61. โลกของสัตว์เล็ก 62.ผจญภัยบนบอลลูน 63. สำรวจโลกการ์ตูน 64.จรวดและดาวเทียม 65.ปริศนาหน้าร้อน 66. เชอร์ลอกโฮม 67. แดร๊กคูล่าผู้น่ารัก 68.นิทานเรียนรู้โลกกว้าง 69.การทดลองข้างครัวแกะรอบธรรมชาติ 70. ชื่อเป็นชื่อตาย 71.วิธีอยู่ดีมีสุข 72. ฝึกภาษาอังกฤษเอาชีวิตรอดในอเมริกา 73. 100คำถามแปลกแต่จริง 74.เรื่องพิศวง 75. เรื่องชวนสงสัย 76. เรื่องน่ารู้ 77.ไม่ยากถ้าอยากทำให้สำเร็จ 78. พืชสมุนไพรเสริมความงาม 79.ความสุขของกะทิตอนตามหาพระจันทร์ 80. โรงเรียนหาย 81. 14เรื่องสั้นดีเด่น 82.ก้มหน้าเที่ยว 83.เมื่อยายอายุเท่าหนู 84.อาณาจักแห่งหัวใจ 85.ทศกัณฑ์ออนไลน์ 86.ด้วยปีกและถั่วพู 87. ไต้ฝุ่น 88. ซินกับชุน 89.ชีวิตรักเจ้าฟ้า 90.สมเด็จพี่สมเด็จน้อง 91. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับเรียนรู้ เล่ม 8 ถึง เล่ม 11 92.เก่งพูดอังกฤษ 93.ประวัติศาสตร์ไทย 94.ไม้กระถาง 95. ไม้ประดับ 96.ดนตรีไทย 97. ศิลปะการพูด 98.การโฆษณา 99.การวิจัยในชั้นเรียน 100. ประวัติราชวงศ์อังกฤษ 101.พูดจาภาษาคนญี่ปุ่น 102.แกรมม่า 103.ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ 104.ความรู้รอบตัว 105.แบบทดสอบความถนัด GAt/PET 106.ความถนัดทางวิชาชีพครู 107. อ่านเขียนภาษาญี่ปุ่นพื้นฐาน 108.พจนากรมญี่ปุ่นไทย 109.คู่มือความถนัดทางแพทย์ 110.บ้านกับต้นไม้ 111.ไม่ยากถ้าอยากน่าคบ 112.ผจญภัยไปกับชาวอียิปต์ 113.วิทยาศาสตร์ฉลาดสุดสุด 114. ไม่ยากถ้าไม่อยากอ้วน 115.พีโอเจ้าชายอสูร 116.งานใบตอง 117.การจัดดอกไม้แบบไทย 118. วาดสวยด้วยสีไม้ 119.งานดอกไม้สด 120.วัสดุเหลือใช้ได้ประโยชน์ 121.การจัดดอกไม้แบบสร้างสรรค์ 122.เจ้าสาวผู้สาปสูญ 123.การเขียนลายไทย 124.อาหารว่าง 2 125.ซูซิ-ข้าวปั้น 126.อาหารไทยตำหรับดั้งเดิม 127.เมนูคู่ครัว 128. ราชาศัพท์ 129.สุภาษิตไทย 4 ภาค 130. นิทานพื้นบ้านชุดขำขัน 131. นิทานพื้นบ้านชุดอธิบายเหตุ 132.นิทานพื้นบ้านชุดวรรณคดี 133. นิทานพื้นบ้านชุดคติสอนใจ 134. พระมหาชนกเพชรแห่งพระอัฉริยภาพ 135.ส่องสมองมองโลก 136. 209 คำสอนพ่อเศรษฐกิจพอเพียง

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

รายชื่อหนังสือห้องสมุดที่มีผู้ยืมมากที่สุด 50 ชื่อเรื่อง

1. รามเกียรติ์ฉบับการ์ตูน
2. ไกรทองฉบับการ์ตูน
3. สังข์ทองฉบับการ์ตูน
4. ทางเดินแห่งรัก
5. ศรีธนญชัยฉบับการ์ตูน
6. แก้วหน้าม้า
7. no boys เขตปลอดผู้ชาย
9. แฮรี่พอเตอร์ตอนห้องแห่งความลับ
10. นิทานไฮเทค
11. เธอคือเพื่อนแท้
12. ทรามวัยในขวดแก้ว
13. จันทโครพ ฉบับการ์ตูน
14. ตอบได้ไหมว่าหัวใจนะรัก
15. เรื่องจริงจากวิญญาณ
16. เสียงหวีดจากบ้านผีสิง
17. แอนน์ แฟรงค์
18. หัวขโมยแห่งบารามอส
19. วิวาห์นี้มีรักแท้
20. แฮรี่พอตเตอร์ ตอนศิลาอาถรรพณ์
21. แฮรี่พอตเตอร์ ตอนเจ้าชายเลือดผสม
22. ภูผาหมาบางแก้ว
23. ความสุขของกะทิ
24. เอาชีวิตรอดในป่าใหญ่
25. แก้วจอมแก่น
26. เดอะไวท์โรด์ ภาค 1
27. แฮรี่พอตเตอร์ ตอนนักโทษแห่งอัชคาบัน
29. ท้าทายสมองซีกขวา
30. ความรักริมฝั่งแม่น้ำเทมส์
31. พระพุทธเจ้า
32. แพนด้ายอดนักสืบ
33. ปลูกหัวใจในสวนขวัญ
34. ทายใจรู้นิสัยคนใกล้ชิด
35. กว่าจะเป็นหมอ
36. ถอดรหัสใจแบบง่ายๆ
37. ปลาทู
38. 100 ความลับไดโนเสาร์
39. แก้วจอมซน
40. แม่ชีเทเรซ่า
41. อุโมงค์ลึกลับ
42. กบนอกกะลา ตอนไก่ไข่
43. 100 ความลับของร่างกาย
44. เดอะไวท์โรด ภาค 2
45. พระเวสสันดร ฉบับการ์ตูน
46. เอาชีวิตในเกาะร้าง
47. ล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า อเมริกา
48. ล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้าจิ๋นซีฮ้องเต้
49. คือทุกสิ่งเพื่อเธอ เล่ม 1
50. กบนอกกะลาปลากระป๋อง

วันอังคารที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2552

สถิติห้องสมุด


การใช้บริการห้องสมุด ประจำปีการศึกษา 1/2551

จำนวนนักเรียนชาย 9,975 คน

จำนวนนักเรียนหญิง 10,953 คน

จำนวนครู 383 คน

รวมทั้งสิ้น 21,311 คน

การใช้ห้องสมุดเพื่อค้นคว้าเป็นชั้นเรียน ประจำปีการศึกษา 1/2551

รวมทั้งสิ้น 3,026 คน

การยืมหนังสือในห้องสมุด ประจำปีการศึกษา 1/2551


นักเรียนยืมจำนวน 10,905 เล่ม

ครูยืมจำนวน 354 เล่ม

รวมการยืมหนังสือ ภาคเรียนที่ 1/2551 11,259 เล่ม

การใช้บริการอินเทอร์เน็ตในห้องสมุดโรงเรียนประจำปีการศึกษา 1/2551

นักเรียนเข้าใช้บริการจำนวน 1,570 คน

ครูเข้าใช้บริการจำนวน 99 คน



วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

ข้อปฏิบัติในการยืมหนังสือในห้องสมุดโรงเรียน

1. แสดงบัตรทุกครั้งที่ยืมหนังสือ ห้ามใช้บัตรผู้อื่นยืม
2. การยืมหนังสือ
2.1 หนังสือทั่วไปยืมได้ครั้งละ 2 เล่ม ต่อ 7 วัน
2.2 หนังสือจองยืมได้ครั้งละ 1 เล่ม ต่อ 1 วัน
2.3 วารสาร ,นิตยสาร ,หนังสือพิมพ์ ล่วงเวลา ยืมได้ครั้งละ 1 เล่ม ต่อ 1 วัน
2.4 จุลสาร ยืมได้ครั้งละ 1 เล่ม ต่อ 1 วัน
2.5 สารานุกรม ยืมได้ครั้งละ 1 เล่ม ต่อ 1 วัน
3. การคืนหนังสือเกินกำหนดต้องเสียค่าปรับดังนี้
3.1 หนังสือทั่วไป วันละ 1 บาท ต่อ 1 เล่ม
3.2 หนังสือจอง วารสาร นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร และสารานุกรม วันละ 2 บาท ต่อ 1 เล่ม
4. เวลาในการยืมหนังสือ
เวลา 07.30 น. ถึง 08.00 น
เวลา 12.00 น. ถึง 13.00 น
เวลา 15.30 น. ถึง 16.30 น.
5. ถ้าห้องสมุดทวงหนังสือแล้วไม่คืนจะงดแจ้งผลการเรียนในภาคเรียนนั้น

"ห้องสมุดสุดแสนดีมีประโยชน์ นักเรียนโปรดกระทำตามกระแส แล้วจะช่วยเราคิดเป็นเด่นยิ่งแท้ ทำเป็นแน่แก้ปัญหาเก่งกล้าเอย"

มารยาทในการใช้ห้องสมุดโรงเรียนเมืองเชลียง

1. ห้ามนำกระเป๋าสมุดหรือสิ่งของต่างๆ เข้ามาในห้องสมุด
2. ไม่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น
3. ไม่นำอาหารเข้ามารับประทานในอาคารห้องสมุด
4. ไม่นำหนังสือออกจากห้องสมุดก่อนรับอนุญาต
5. ไม่ตัด ฉีก ดึง หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์และเขียนข้อความลงในหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์ของห้องสมุด
6. เมื่อนำหนังสือหรือวารสารมาอ่านแล้วให้นำไปเก็บไว้ที่เดิมหรือนำไปวางไว้ที่โต๊ะแยกหนังสือก่อนขึ้นชั้น
7. ช่วยกันดูแลหนังสือในห้องสมุดให้เรียบร้อย
8. เมื่อลุกจากเก้าอี้ให้เลื่อนเข้าที่เดิมให้เรนียบร้อย
9. เมื่ออ่านหนังสือพิมพ์เสร็จแล้วให้นำไปวางไว้ที่เดิม

ห้องสมุดโรงเรียนเมืองเชลียง

บุคลากรดำเนินงานห้องสมุด

ผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองเชลียง
นายสละ เมธีธรรม
รองผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองเชลียง
นางพวงเพชร แก้วเกต
บรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียน
นางจันทร รังสิวุฒาภรณ์
นางรุ่งฤดี ทองแซม
นางสาวกนกพร นวมนาค
นางวรีวรรณ โขนงนุช
อาจารย์ช่วยงานห้องสมุด
นักเรียนช่วยงานห้องสมุด
1. นายมานะ กุมภา
2. นายธวัชชัย โยนยาน
3. นายพิรุณ บุณแปง
4. นายอาเดียว ระบอบ
5. นายสมชาย ขาวดี
6. นายภาณุวัฒน์ บุญวงศ์
7. นายธนาคาร รุงโรจน์
8. นายนัฐวัฒน์ เนาวรัตน์
9. นางสาวธีญพิชชา ทองกลาง
10. นางสาววิชชญา เสมาทอง
11. นางสาวบุษกร ทำความชอบ
12. นางสาวขนิษฐา กรรมสิทธิ์
13. เด็กหญิงสุกัญญา แก้วมี
โครงการห้องสมุด
1. โครงการพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด
2. โครงการปรับปรุงห้องสมุด
3. โครงการส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
กิจกรรมห้องสมุดโรงเรียนเมืองเชลียง
1. การแข่งขันเปิดพจนานุกรมภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
2. จัดรายการเสียงตามสายแนะนำหนังสือ
3. ตระกร้าหนังสือเคลื่อนที่
4. กระเป๋าเคลื่อนที่สู่ชุมชน
5. การจัดป้ายนิเทศ
6. การจัดนิทรรศการหนังสือใหม่
7. การจัดทำบรรณนิทัศน์หนังสือ
8. ฉายภาพยนตร์เพื่อการศึกษา
9. เมืองเชลียงปริทรรศน์
10. ตอบปัญหาประจำเดือน
เป็นต้น
งานบริการห้องสมุด
1. บริการการอ่าน
2. บริการยืมคืนโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์โปรแกรมPLS
3. บริการอินเทอร์เน็ต
4. บริการสืบค้นข้อมูล
5. บริการจัดทำบัตรสมาชิกห้องสมุด
6. บริการตอบคำถาม
7. บริการวารสารหนังสือพิมพ์
8. บริการแนะแนวการอ่าน
เป็นต้น
การจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดโรงเรียนเมืองเชลียง
จัดตามระบบทศนิยมของดิวอี้ดังนี้
000 เบ็ดเตล็ดทั่วไป ติดแถบสีชมพูเข้ม
100 ปรัชญา ติดแถบสีขาว
200 ศาสนา ติดแถบสีเขียวฟ้า
300 สังคมศาสตร์ ติดแถบสีเขียว
400 ภาษาศาสตร์ ติดแถบสีม่วงเข้ม
500 วิทยาศาสตร์ ติดแถบสีนำตาล
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ติดแถบสีเหลือง
700 ศิลปะและนันทนาการ ติดแถบสีดำ
800 วรรณคดี ติดแถบสีม่วงอ่อน
900 ภูมิศาสตร์ประวัติศาสตร์ ติดแถบสีส้มแดง

หนังสือหมวดพิเศษ
น นวนิยาย ติดแถบสีน้ำเงิน
รส. เรื่องสั้น ติดแถบสีนำเงิน
คู่มือ คู่มือสอบ ติดแถบสีเขียวอ่อน

กติกาการใช้บริการอินเทอร์เน็ตในห้องสมุดโรงเรียน

1. แสดงบัตรสมาชิกห้องสมุดโรงเรียนแก่เจ้าหน้าที่ห้องสมุด
2. ลงชื่อ-นามสกุล ชั้น และเวลาในการค้นคว้าทุกครั้ง
3. การให้บริการ เวลา 12.00น - 13.00 น
วันจันทร์ ให้บริการแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
วันอังคาร ให้บริการแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
วันพุธ ให้บริการแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 4
วันพฤหัสบดี ให้บริการแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
วันศุกร์ ให้บริการแก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
4. เวลา 12.00 น. - 13.00 น. สามารถค้นคว้าได้แม่เกิน 30 นาที ต่อคน และเรียงตามลำดับในการลงชื่อเข้าใช้บริการ สำหรับเวลานอกเหนือจากที่กำหนดในคาบแหล่งเรียนรู้ นักเรียนสามารถเข้าค้นคว้าได้ตามปกติ แต่ไม่เกินคนละ 1 ชั่วโมง
5. ใช้ค้นคว้าข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ห้ามเล่นเกม
6. กรุณาปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ตามขั้นตอนทุกครั้งเมื่อบริการเป็นคนสุดท้าย

แนะนำหนังสือใหม่ เรื่องอัจฉริยะนักวิทย์

อัจฉริยะนักวิทย์ แต่งโดย ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน พิมพ์โดย สำนักพิมพ์สารคดี พิมพ์ครั้งที่ 3. ปีพ.ศ.2551. ราคา 150 บาท
อัจฉริยะนักวิทย์ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ เกี่ยวกับเรื่องราวนักวิทยาศาสตร์ทั้งที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก เช่น อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ไอแซก นิวตัน เบนจามิน แฟรงคลิน และที่รู้จักกันเฉพาะในแวดวงวิชาการเท่านั้น เช่นบางคนทีฐานะยากจนไม่สามารถเรียนต่อได้แต่ก็สามารถศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองทุ่มเทชีวิตคิดค้นประดิษฐ์สิ่งต่างขึ้นมาเพื่อมนุษย์ในโลกที่สุขสบายในปัจจุบันนี้ บางคนมีชื่อเสียงตั้งแต่ยังอายุน้อย แต่บางคนก็รอจนเสียชีวิตไปก่อน โลกจึงเห็นความสำคัญของงานเขา บางคนร่ำรวย บางคนเป็นยาจก บางคนจากไปอย่างไร้ญาติมิตร ดังนั้นชีวิตของพวกเขาจึงน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งไม่น้อยไปกว่าผลงานที่เขาได้สร้างสรรค์ไว้ หนังสือเล่มนี้อยู่ในชุดวิทยาการแห่งอัจฉริยะ ใครสนใจหาอ่านได้ในหนังสือเล่มนี้