วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การตอบปัญหาสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

ประกาศ
ตอนนี้ห้องสมุดโรงเรียนจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยจัดกิจกรรมตอบปัญหาสารานุกรม ตั้งแต่เล่มที่ 1 ถึงเล่มที่ 34 โดยแบ่งคำถามออกเป็น 11 ชุดนักเรียนสามารถตอบคำถามได้ตามความสนใจในเนื้อหาของสารานุกรม คิดต่อสอบถามได้ที่บรรณารักษ์
ห้องสมุดตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2553 เป็นต้นไป

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

นักเรียนควรอ่าน......

วันนี้อยากจะมาพูดคุยถึงเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ เพราะความคิดสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อเด็กมาก ทำให้เด็กสามารถสร้างสรรค์ความคิด มีจินตนาการ ส่งผลทำให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพตามหลักสูตรการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน โโยเฉพาะในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้กำหนดสาระการเรียนรู้แกนกลางของความคิดสร้างสรรค์ไว้ 4 ลักษณะ ประกอบไปด้วย
1. ความคิดริเริ่ม (Originality) คือ ลักษณะความคิดที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับของเดิม ไม่เคยปรากฏมาก่อน
2. ความคล่องในการคิด (Fluency) คือ ความสามารถในการคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว และ
มีปริมาณมากในเวลาจำกัด
3. ความยืดหยุ่นในการคิด (Flexibility) คือ ความสามารถในการหาคำตอบได้หลายประเภทและหลาย
ทิศทาง
4. ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) คือ ความคิดในรายละเอียด เพื่อตกแต่งหรือขยายความคิดหลักให้สมบูรณ์

จะเห็นได้ว่า องค์ประกอบทั้ง 4 ข้อ ที่นำมานี้ เด็กสามารถฝึกและปฏิบัติตามได้ ดังนั้นเรามาเริ่มกันตั้งแต่อ่านบทความนี้จบเลยดีว่า

วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

หนังสือห้องสมุด

ประกาศ
เรียนครูอาจารย์และนักเรียนทุกคน ตอนนี้ห้องสมุดได้สำรวจรายชื่อหนังสือที่ต้องการอ่านหรือใช้ประกอบการเรียนการสอน ในภาคเรียนที่ 2/2553 โดยให้ส่งรายชื่อได้ที่ครูพวงเพชร แก้วเกต หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายนนี้

ภัยธรรมชาติที่อาจเกิดโดยไมคาดฝัน.....

อุทกภัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในปัจจุบันภัยธรรมชาติเกิดขึ้นได้เสมอ เสมือนอยู่ใกล้ตัวเราเข้าไปทุกทีบางคนบอกว่าไม่เคยพบไม่เคยเห็นเหตุการณ์ที่น่ากลัวเหล่านี้ดังนั้นเราควรมาทำความรู้จักกับคำว่า ---อุทกภัย---กันก่อนดีว่า
อุทกภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเนื่องจากมีน้ำเป็นสาเหตุ อาจจะเป็นน้ำท่วม น้ำป่า หรืออื่น ๆ โดยปกติ อุทกภัยเกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ หมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ

1 ชนิดของอุทกภัย
2 การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย
3 ภัยพิบัติครั้งสำคัญในประเทศไทย
4 อ้างอิง

ชนิดของอุทกภัย
น้ำป่าหลาก เกิดจากฝนตกหนักบนภูเขา หรือต้นน้ำลำธารและไหลบ่าลงที่ราบอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีต้นไม้ ช่วยดูดซับ ชะลอกระแสน้ำ ความเร็วของน้ำ ของท่อนซุง และต้นไม้ ซี่งพัดมาตามกระแสน้ำจะทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน และชีวิตมนุษย์และสัตว์จนได้รับความเสียหาย.
น้ำท่วมขัง น้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำล้นตลิ่ง มีระดับสูงจากปกติท่วมแช่ขัง ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก เกิดโรคระบาดได้ ทำลายพืชผลเกษตรกร
คลื่นซัดฝั่ง เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วมบริเวณชายฝั่งทะเล บางครั้งมีคลื่นสูงถึง 10 เมตร ซัดเข้าฝั่งซึ่งสามารถทำลายทรัพย์สินและชีวิตได้
การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย
ควรติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ เมื่อใดที่กรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง
ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลาก จากภูเขาที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำจะรวดเร็วมาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลาย ๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง
ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคม ควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไร
กระแสน้ำหลากจะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ และพืชไร่ ต้องระวังกระแสน้ำพัดพาไป อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม อย่าลงเล่นน้ำ อาจจะประสพอุบัติภัยอื่น ๆ อีกได้
หลังจากน้ำท่วม จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค โดยต้มให้เดือดเสียก่อน
ภัยพิบัติครั้งสำคัญในประเทศไทย
ภัยพิบัติครั้งสำคัญในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2526
2526 - กรุงเทพมหานคร
2531 - ตำบลกะทูน จังหวัดนครศรีธรรมราช
2538 - กรุงเทพมหานคร
2543 - อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
2544 - ตำบลน้ำก้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีผู้เสียชีวิต 147 คน
2544 - จังหวัดแพร่
2547 - เขตเทศบาลแม่ระมาด จังหวัดตาก
2548 - 8 จังหวัดภาคใต้
2548 - จังหวัดเชียงใหม่
2549 - 5 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง
2553 - 21 จังหวัด ภาคกลางและภาคอีสาน

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเพณีการทอดกฐินชาวหาดเสี้ยว

เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว กำหนดจัดงานอนุรักษ์และสืบสานประเพณีการแห่กฐินทางน้ำ แข่งเรือ (เฮือซ่วง) ประเพณีลอยกระทง และเทศกาลอาหาร ประจำปี 2553 ระหว่างวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2553 ณ บริเวณเขื่อนเรียงหิน หมู่ 2 เทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อำเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัด สุโขทัย เพื่ออนุรักษ์และสืบสานประเพณีแห่กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ (เฮือซ่วง) ให้คงอยู่สืบไป ซึ่งความเป็นมาของประเพณีแห่องค์กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ หรือชาวบ้านเรียกว่า (เฮือซ่วง) เป็นการทำบุญในเทศกาลทอดกฐินของชาวไทยพวน ที่นิยมทอดกันตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือน 12 และถือว่าการทอดกฐินได้บุญมาก ผู้มีจิตศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐิน ต้องเขียนหนังสือแสดงความจำนงจะทอดกฐินในวัน เดือน ปี นั้น ๆ ไปติดประกาศไว้ที่วัด เรียกว่า จองกฐิน ในอดีตการทอดกฐินถ้าไปทอดที่วัดห่างไกลจากหมู่บ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันแห่ไปแล้วทอดให้เสร็จในวันเดียว หากทอดที่วัดประจำในหมู่บ้าน หรือวัดใดวัดหนึ่งใกล้ ๆ กัน จะต้องมีการแห่วันหนึ่ง ทอดวันหนึ่ง การแห่คือ การจัดเครื่องกฐิน เรียกว่า กองกฐิน ลงเรือยาวขนาดใหญ่ ซึ่งจัดสร้างขึ้นไว้ในการนี้โดยเฉพาะ แล้วประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ตามความนิยมของชาวบ้านหาดเสี้ยว ก่อนจะแห่ขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งบรรดาชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งแม่น้ำ เมื่อได้ยินพิณพาทย์แห่กฐินมา จะพากันอุ้มลูกจูงหลานมาดูมาชมอย่างคับคั่ง ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ จะถือเครื่องไทยธรรม มารอคอยอยู่ที่ท่าน้ำเพื่อร่วมอนุโมทนาด้วย เมื่อเรือกฐินผ่านมา จะแวะเข้าไปรับทุก ๆ แห่ง จนสุดหมู่บ้านแล้ววนกลับ ในการแห่กฐินนี้พวกเด็กเล็กในหมู่บ้านที่ทอดกฐิน ต่างพากันร้องไห้กระจองอแง ขอให้พ่อแก่นำไปแห่กฐินด้วย พ่อแม่จำเป็นจะต้องพาลงเรือพายเรือแจวไปร่วมกับเรือกฐิน แต่ประเพณี ดังกล่าวเริ่มจะจางหายไปตามกาลเวลา คนรุ่นหลังก็ยังให้ ความสนใจประเพณี นี้ไม่มากนัก ทั้งนี้ ทางผู้บริหาร และคณะเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว จึงได้ฟื้นฟูและสนับสนุนประเพณีแห่กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ (เฮือซ่วง) ขึ้น ซึ่งคาดว่า จะได้รับความพึงพอใจจากชาวตำบลบ้านหาดเสี้ยว และคนสุโขทัย พร้อมทั้งนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สำคัญอีกอย่างของคนสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นเมืองวัฒนธรรมและเมืองมรดกโลก ซึ่งพร้อมจะสืบสานประเพณีนี้ให้คงอยู่คู่กับชุมชนเทศบาลตำบลหาดเสี้ยวและ ประชาชนชาวหาดเสี้ยวต่อไป


ที่มา ---srisatchanalai.com

วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สวัสดีเปิดเทอมใหม่....จากใจบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนเมืองเชลียง

สวัสดีนักเรียนเมืองเชลียงที่น่ารักทุกคน โดยเฉพาะนักเรียนช่วยงานห้องสมุดที่มาจัดการห้องสมุดให้สามารถเข้าใช้ได้ตามปกติมีบรรยากาศสะอาด และ
สามารถยืมคืนได้ในวันเปิดภาคเรียนคือวันที่ 1 พ.ย. 2553

เปิดรับสมัครทำบัตรห้องสมุดในเทอมที่ 2/2553

นักเรียนที่ยังไม่มีบัตรห้องสมุดสามารถมาสมัครเพิ่มเติมได้ที่ห้องสมุดตั้งแต่
วันที่ 1 พ.ย.53 จนถึงวันที่ 30 พ.ย. 2553 นี้ ในเวลาเปิดบริการ

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

การยืมหนังสือช่วงปิดเทอม

ประกาศ
ให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 6 มายืมหนังสือคู่มือสอบวิชาต่างๆ ในวันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน และวันศุกร์ ที่ 24 เดือนกันยายน ในเวลา 07.30 น ถึงเวลา 13.00 น.

วันเสาร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2553

รายชื่อนักเรียนที่ได้รับรางวัลยอดนักอ่านยอดเยี่ยม ภาคเรียนที่ 1/2553

มัธยมศึกษาตอนต้น
1. เด้กชายฐาปกรณ์ เผยพร
2. เด็กหญิงพิชชารีย์ เอบศรี
3. เด็กชายชวลิต เพียเพ็ง
4. เด็กชายวรวัฒน์ พิมพ์เหมือน
5. เด็กชายเบญจรงค์ รอดกำเนิด
6. เด็กชายเกียรติศักดิ์ อินทร์แจ่ม
7. เด็กหญิงมานิภา กองเกิด
8. เด็กหญิงนพมาศ สุพรรณ์
9. เด็กหญิงรมิตา ประชัน
10. เด็กหญิงมุรินทร์ สร้างไร่
11. เด็กหญิงปัณฑิตา ไฉนหนอ
12. เด็กหญิงนันทพร ทิศอุดร
13. เด็กหญิงกาญจนา บุรี
14. เด็กหญิงกนกพร คชสิงห์
15. เด็กชายอิทธิพร มีแก้ว
16. เด็กชายสิบวงศ์ รอสูงเนิน
17. เด็กหญิงมัสลิตตา เคราะห์ดี
18. เด็กหญิงปิ่นอนงค์ เอี่ยมจิตร
19. เด็กชายกฤษณ์ เกื้อกูล
20. เด็กหญิงอุมาพร ใจอ่อน
21. เด็กหญิงสุชานันท์ ช้าอยู่
22. เด็กหญิงจินตนา สิงหวิบูลย์
23. เด็กหญิงณิชกานต์ วงศ์วิเศษ
24. เด็กชายสิทธิชัย แก้วสุวรรณ
25. นางสาวชีวานันท์ เกาฑัณฑ์
26. นายนัธพงศ์ ศิริจรรยา
27. นางสาวดวงฤทัย บัวแก้ว
28. นางสาวนิตยา เผยพร
29. นางสาวศศิวิมล เขวาลำธาร
30. นายสมเจตน์ กล่ำจีน


20 รายชื่อหนังสือที่นักเรียนยืมมากที่สุด
1. โมชิบุกเรือรบ
2. เอาชีวิตรอดจากไวรัส เล่ม 1 ถึง เล่ม 3
3. ไม่ยากถ้าอยากทำให้สำเร็จ
4. แก๊งซ่าส์ท้าทดลอง 3 ปริศนาแห่งแสง
5. ครอบครัวหัวกะทิ
6. ผจญภัยในวิหารทองคำ
7. เอรากอยปริศนาเกมคอมพิวเตอร์
8. หัวขโมยแห่งบารามอส แหวนนักปราชญ์
9. กำจัดเรื่องเหม็นๆ ในตัวเรา
10. กบนอกกะลา ตอน สยามซอส
11. มหัศจรรย์กรุ๊ปเลือด เอบี
12. แก๊งซ่าส์ท้าทดลอง 2 แรงมหัศจรรย์
13. อภินิหารการ์ดภาษาอังกฤษ
14. สงครามอัศวินวิทยาศาสตร์
15. เจาะตำนานพ่อมดผจญศึก
16. กบนอกกะลา เล่นแร่แปรทอง
17. กบนอกกะลา electric
18. ฮากลิ้งกับกฎหมายขำขำ
19. หัวขโมยแห่งบารามอส the perfect
20. ร่างกายของเรา

ประกาศห้องสมุด

แจ้งให้นักเรียนทุกคนทราบ ห้องสมุดโรงเรียนเมืองเชลียงงดยืมหนังสือในภาคเรียนที่ 1/2553 ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2553 เป็นต้นไป

วันจันทร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ทวงหนังสือค้างส่งของห้องสมุดโรงเรียน

รายชื่อนักเรียนที่ค้างส่งหนังสือประจำเดือนสิงหาคม 2553
1. นายณัฐพงษ์ ศิริจรรยา ม.4/1
2. นายวัชรพล สิทธิศักดิ์ ม.4/5
3. นายวัชรพงศ์ ทองเชื้อ ม.6/5
4. เด็กหญิงนันทนา เขาชม ม.2/9
5. เด็กหญิงเบญญทิพย์ แสนโสม ม.2/6
6. เด็กหญิงฉวีวรรณ ปัญญากวาว ม.2/4
7. เด็กหญิงยลดา เมษะนิวัฒน์ ม.2/4
8. เด็กชายมงคล ตุ่มศรียา ม.2/4
9. เด็กหญิงสุวนันท์ ธัญญา ม.1/1
10. เด็กหญิงกุลจิรา บุระเนตร ม.1/1
11. เด็กหญิงทิพวรรณ ลือก้อง ม.1/5
12. เด็กหญิงกนกวรรณ ยาหมู ม.1/3
13. เด็กชายภูวดล เทพวรรณ ม.1/1
14. นางสาวมณีรัตน์ วันดี ม.6/1
15. นางสาวเปรมจิต ดาราดิลก ม.4/5

หมายเหตุ ให้นักเรียนที่มีรายชื่อนำหนังสือไปคืนที่ห้องสมุดภายในวันที่ 1- 5 กันยายน 2553 ด้วย หรือติดต่อที่ครูพวงเพชร แก้วเกต ที่ห้องสมุดโรงเรียน

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 ทุกห้อง


นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนกับครูพวงเพชร ในวันศุกร์ที่ 20 สิงหาคม 2553 เวลา 10.30 น. ให้หัวหน้าชั้นและรองหัวหน้าชั้น มาพบที่ห้องสมุดโรงเรียน

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประกาศจากห้องสมุด

ในเดือนกรกฏาคม 2553 นี้ห้องสมุดเปิดให้บริการวันเสาร์และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น ถึงเวลา 16.00 น

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดโรงเรียน

การจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดโรงเรียนเมืองเชลียง
ห้องโรงเรียนเมืองเชลียง จัดเก็บหนังสือทั่วไปตามระบบการจัดหมวดหมู่
แบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification) โดยการจัดหนังสือเป็น 10 หมวดใหญ่ และใช้ตัวเลขอารบิคเป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ ดังนี้
สัญลักษณ์ เนื้อหาเกี่ยวกับ
000 เบ็ดเตล็ด ความรู้ทั่วไป ห้องสมุด ปกิณกะ
100 ปรัชญา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ โหราศาสตร์ และจริยศาสตร์
200 ศาสนา
300 สังคมศาสตร์ (สถิติ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
กฎหมาย รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ การศึกษา
การคมนาคม การขนส่ง ขนบธรรมเนียม มารยาทและ
ประเพณีพิธีกรรมต่างๆ
400 ภาษาศาสตร์ เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น
เป็นต้น
500 วิทยาศาสตร์ทั่วไป เช่น คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี
ชีววิทยา พฤกษศาสตร์ และสัตวศาสตร์
600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์ เทคโนโลยี แพทยศาสตร์ โรคต่างๆ
วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ อาหารต่าง บริหารธุรกิจ
โรงงานและการก่อสร้าง
700 ศิลปะ วิจิตรศิลป์ต่างๆ การออกแบบ การเขียนแบบ
สถาปัตยกรรม การวาดเขียน การถ่ายภาพ กีฬาและ
นันทนาการ ดนตรี
800 วรรณคดี การเขียน การประพันธ์ สุนทรพจน์ การโต้วาที และ
การอ่านออกเสียง
900 ภูมิศาสตร์ การท่องเที่ยว ชีวประวัติ และประวัติศาสตร์ประเทศ
ต่างๆ


นอกจากนี้เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บหนังสือ บรรณารักษ์ห้องสมุดยังได้ติดแถบสีดังนี้
000 สีชมพู
100 สีขาว
200 สีฟ้า
300 สีเขียว
400 สีม่วงเข็ม
500 สีนำตาล
600 สีเหลือง
700 สีดำ
800 สีม่วงอ่อน
900 สีแดง
คู่มือสอบ สีเขียวอ่อน
และเพื่อความสะดวกในการค้นหาหนังสือห้องสมุดได้จัดโต๊ะคอมพิวเตอร์ติดตั้งโปรแกรม (PLS) เพื่อค้นหารายชื่อหนังสือไว้ด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับห้องสมุด
ความหมายของห้องสมุด
คำว่า “ห้องสมุด” หรือภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Library” ปัจจุบันมีคำเรียกอื่น ๆ แทนคำว่า ห้องสมุด เช่น ศูนย์วัสดุการศึกษา ศูนย์การเรียนรู้ สถาบันวิทยาบริการ เป็นต้น
ห้องสมุดเป็นแหล่งรวบรวมเอกสาร สิ่งพิมพ์หลายประเภทเป็นข่าวสารข้อมูล มีการจัดซื้อ และจัดหาเพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ มีบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ให้บริการโดยพิจารณาประโยชน์ของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ
ความสำคัญของห้องสมุด
ห้องสมุดมีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบ ในขณะที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนได้มีการจัดห้องสมุดให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า เพื่อสร้างนิสัยรักการศึกษาค้นคว้า รู้จักหาความรู้ พัฒนาตนเองเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวันห้องสมุด จึงมีความสำคัญดังนี้
๑. เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ไว้ให้บริการแก่ผู้ใช้ห้องสมุด
๒. เป็นสถานที่ที่ทุกคนได้เลือกศึกษาหาความรู้อย่างอิสระด้วยตนเอง
๓. เป็นสถานที่ให้บริการข่าวสารที่ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
๔. ช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน รักการค้นคว้า
๕. ช่วยให้บุคคลรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
๖. ช่วยให้บุคคลตระหนักถึงการใช้ห้องสมุดได้อย่างถูกต้อง

วัตถุประสงค์ของห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นแห่งรวมวิทยาการต่าง ๆ ทุกคนที่เข้าใช้ห้องสมุด สามารถเลือกอ่านหนังสือได้ตามความต้องการ และความสนใจของแต่ละบุคคล ห้องสมุดช่วยให้ผู้ใช้มีนิสัยรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้าและหาความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานต่าง ๆ จึงตั้งห้องสมุดขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ
๑. เพื่อการศึกษา (Education) ห้องสมุดจัดหาและรวบรวมเอกสาร สิ่งพิมพ์ที่เป็นข่าวสารข้อมูล เพื่อสนองตอบความต้องการศึกษาค้นคว้าของผู้ใช้ห้องสมุด เป็นการส่งเสริมและสนับสนุนเป้าหมายของการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้วหรือผู้ที่มิได้ศึกษาขั้นสูงอาจใช้ห้องสมุดศึกษาต่อไปได้ตลอดชีพ
๒. เพื่อให้ความรู้และข่าวสาร (Information) ห้องสมุดจัดเก็บเอกสารสิ่งพิมพ์ที่เป็นข่าวสารข้อมูล ประเภทหนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร ทุกสาขาวิชาไว้บริการเพื่อให้ผู้ใช้ได้ ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว ของเหตุการณ์ปัจจุบันและความก้าวหน้าทางวิชาการ เป็นการสนองความต้องการศึกษาค้นคว้าอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
๓. เพื่อการค้นคว้าวิจัย (Research) ห้องสมุดเป็นสถานที่จัดเก็บเอกสารสิ่งพิมพ์ที่เป็นข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลประเภทสถิติ รายงานการวิจัย และหนังสืออ้างอิง เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการค้นคว้าวิจัยของนักวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ เป็นการเสริมสร้างความงอกงามทางด้านวิชาการต่อไปในอนาคต
๔. เพื่อความจรรโลงใจ (Inspiration) เอกสารสิ่งพิมพ์ที่เป็นข่าวสารข้อมูลในห้องสมุดนอกจากจะให้ความรู้ทางวิชาการแล้วยังมีบางประเภทที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสุขทางใจ ความซาบซึ้งประทับใจในเรื่องราวที่อ่าน เช่น เรื่องชีวประวัติของบุคคลสำคัญที่ทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติ
๕. เพื่อนันทนาการ หรือการพักผ่อนหย่อนใจ (Recreation) การอ่านหนังสือเป็นการพักผ่อนหย่อนใจที่ดีที่สุด ให้ความเพลิดเพลินและพึงพอใจ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เอกสาร สิ่งพิมพ์ที่เป็นข่าวสารข้อมูลในห้องสมุดนอกจากจะมีเนื้อหาทางด้านวิชาการแล้ว ยังมีหนังสือประเภทนวนิยาย เรื่องสั้น นิตยสาร เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินผ่อนคลายความตึงเครียด

ประเภทของห้องสมุด
ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร แบ่งตามลักษณะการให้บริการได้เป็น ๕ ประเภท คือ
๑. ห้องสมุดโรงเรียน ทำหน้าที่จัดหาหนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ทุกสาขาวิชาตามความสามารถของนักเรียนในโรงเรียน และให้คลุมเนื้อหาที่มีอยู่ในหลักสูตร นำมาจัดให้เป็นระบบเพื่อสะดวกแก่การใช้ และสร้างเสริมให้นักเรียนเกิดนิสัยรักการอ่านอันนำไปสู่การใช้ห้องสมุดประเภทอื่น ๆ
๒. ห้องสมุดมหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย มุ่งส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาของตนให้ดำเนินการสอน การวิจัย บริการทางวิชาการ ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไปสู่จุดหมายปลายทางที่วางไว้ วัสดุห้องสมุดตลอดจนบริการต่าง ๆ ที่ให้แก่อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ในสถาบัน อุดมศึกษาเหล่านั้น
๓. หอสมุดแห่งชาติ หอสมุดแห่งชาติจะมีทุกประเทศ แต่จะแตกต่างกันในเรื่องขนาดและขอบเขตของสารนิเทศในห้องสมุด ทำหน้าที่รวบรวมและรักษาวรรณกรรมต่าง ๆ ของชาติเป็นเบื้องต้น ส่วนหน้าที่อื่น ๆ อาจแตกต่างกันออกไปตามคุณภาพของแต่ละชาติ บางแห่งอาจรวบรวมเอกสารและสารนิเทศต่าง ๆ ของชาติอื่น ๆ ในโลก กล่าวได้ว่า หอสมุดแห่งชาติของชาติใด ๆ ก็ตามจะมีนโยบายที่จะบริการเอกสารและสารนิเทศต่าง ๆ แก่บุคคลทั้งในชาติและนักวิจัยตลอดจนผู้เชี่ยวชาญของชาติอื่น ๆ ด้วย
๔. ห้องสมุดประชาชน ห้องสมุดประชาชนที่ดีจะให้โอกาสและสนับสนุนให้ผู้ใช้ห้องสมุดทุกเพศทุกวัยได้ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นพลเมืองดีของชาติ สามารถยกระดับการดำรงชีวิตประจำวันให้ดีขึ้น และใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมความผาสุกส่วนตัว ตลอดจนความเป็นอยู่ที่ของสังคม ประเทศไทยจัดห้องสมุดประชาชนเพื่อให้บริการทั้งระดับอำเภอและจังหวัด นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดเคลื่อนที่ทั้งทางบกและทางน้ำมาบริการประชาชน มีตารางให้บริการตามวัน
เวลาและสถานที่ที่แน่นอน ห้องสมุดประชาชนจะได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล สำนักงานเขตหรือเทศบาล และความช่วยเหลือจากภาคเอกชน
๕. ห้องสมุดเฉพาะ ห้องสมุดของหน่วยงานราชการ บริษัท สมาคม องค์การระหว่างประเทศ ผู้ใช้ห้องสมุดเหล่านี้เป็นคนเฉพาะกลุ่ม หนังสือและสารนิเทศต่าง ๆ ของห้องสมุดจำกัดวงแคบเฉพาะวิชาของหน่วยงานที่สังกัดหรืออาจเน้นหนักในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง เช่น แพทย์ นักกฎหมาย เป็นต้น

เปิดบริการทำบัตรสมาชิกห้องสมุด

ประกาศ

ห้องสมุดเปิดให้บริการทำบัตรสมาชิกห้องสมุดและต่ออายุบัตรสมาชิกห้องสมุด
ประจำปีการศึกษา 2553
ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2553 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2553 นี้
นักเรียนคนใดสนใจติดต่อได้ที่ห้องสมุดโรงเรียน

วันจันทร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553

ห้องสมุด 3 d โรงเรียนเมืองเชลียง













ห้องสมุด 3 ดี
ในปีการศึกษา 2552 โรงเรียนเมืองเชลียง มีนโยบายการพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ และศึกษาค้นคว้าของนักเรียน ครู ผู้บริหาร และชุมชน โดยกำหนดแนวทางให้เป็นห้องสมุด 3 ดี เน้นการพัฒนาในองค์ประกอบหลัก ได้แก่

ดีที่ 1. หนังสือและสื่อการเรียนรู้ดี
โรงเรียนได้วิเคราะห์ จัดหาหนังสือและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดการเรียนการสอน โดยจัดให้มีหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเพียงพอต่อความต้องการและเหมาะสมกับนักเรียน ครู ผู้บริหาร


ดีที่ 2. บรรยากาศและสถานที่ดี
โรงเรียนมีห้องสมุดเป็นอาคารเอกเทศแยกจากอาคารเรียน มีการปรับปรุงอาคารใหม่ ทาสีอาคาร จัดตกแต่งห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่ตอบสนองต่อการอ่านการค้นคว้า การเรียนรู้ของผู้ใช้บริการและจัดป้ายนิเทศให้ความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ


ดีที่ 3. ครูบรรณารักษ์และกิจกรรมดี
มีครูบรรณารักษ์ ดำเนินการและบริหารงานต่างๆ ในห้องสมุดเปิดให้บริการอ่านหนังสือตั้งแต่เวลา 07.30 ถึง 16.30 น ให้บริการยืมคืนหนังสือ ซ่อมแซมและดูแลรักษาหนังสือ จัดสื่อการเรียนรู้ตามความต้องการของผู้ใช้บริการและจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ดังนี้
- กิจกรรมห้องสมุดเคลื่อนที่ในวันสำคัญต่างๆ ภายในโรงเรียน
- แนะนำหนังสือใหม่
- จัดทำบรรณนิทัศน์หนังสือใหม่
- แนะนำหนังสือเล่มโปรด
- กิจกรรมวันสำคัญ
- กิจกรรมเสียงตามสาย
- กิจกรรมยุวชนรักการอ่าน
- กิจกรรมยอดนักอ่าน
- ตะกร้าเคลื่อนที่
- ตอบคำถามประจำเดือน
- กระเป๋าเคลื่อนที่สู่ชุมชน





















รายชื่อหนังสือที่นักเรียนยืมมากที่สุดในปีการศึกษา 2/2552

1. สงครามวิทยาศาสตร์ เล่ม ตอน ค้นคว้าอัศวินผู้พิทักษ์
2. ผจญภัยตามรอยพระพุทธเจ้า เล่ม 4 พระเจ้า 500 ชาติ
3. ครอบครัวตึงหนึด
4. ขบวนการพิทักษ์โลก ตอน ทลายแผนคืนชีพปีศาจ
5. ผจญภัยบนเส้นทางสายไหม
6. เอาชีวิตรอดในปิรามิดฟาโรห์
7. ทะลุมิติบุกปิรามิด
8. ไขปริศนาอาณาจักรรูบิค
9. ไม่ยากถ้าอยากมั่นใจ
10. สงครามอัศวินวิทยาศาสตร์เล่ม 3 ตอน อวสานมหาสงคราม
11. ตะลุยเกาะไดโนเสาร์อลเวง
12. ไม่ยากถ้าอยากดูดี
13. ไม่ยากถ้าไม่อยากอ้วน
14. ความรู้ H2O
15. ใครๆ ก็อยากเป็นสุดยอดคุณหมอ
16. อินเลิฟทุกวันได้ไหมเนี่ย
17. ไม่ยากถ้าอยากฉลาดพูด
18. นิทานสุภาษิต
19. นิทานพุทธภาษิต
20. ใครๆ ก็อยากเป็นสุดยอดนักบินอวกาศ

ยอดนักอ่าน ประจำปีการศึกษา 2/2552

1. เด็กหญิงนันทพร ทิศอุดร
2. เด้กชายนัธพงศ์ ศิริจรรยา
3. เด็กหญิงวิภาดา ซอกหอม
4. เด็กชายอิทธิพร มีแก้ว
5. เด็กหญิงอภิชยา นุ่มเหล็ก
6. เด็กหญิงปิ่นอนงค์ เอี่ยมจิตร
7. เด็กหญิงปัณฑิตา ไฉนหนอ
8. เด็กหญิงวรางคณา ทิศอุดร
9. เด็กหญิงลลิตา จันทวี
10. เด็กหญิงกาญจนา บุรี
11. เด็กชายวิชนารถ ราษี
12. นายธวัชชัย โยนยาน
13. เด็กหญิงฉวีวรรณ ปัญญากวาว
14. เด็กหญิงมุนรินทร์ สร้างไร่
15. นางสาวศศิวิมล เขวาลำธาร
16. เด็กหญิงเจนจิรา ทองดี
17. นางสาวกาญจนา แบบแผน
18. เด็กชายพิตตินันท์ ลุงคะ
19. นางสาวอรวรรณ สู่บุญ
20. นายภานุวัฒน์ บุญวงศ์

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

งดยืมหนังสือ


ประกาศจากทางห้องสมุด

ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นไป ห้องสมุดโรงเรียนงดยืมหนังสือทุกระดับ

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนะนำหนังสือใหม่ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2553

1. 20 คุณธรรมสำหรับเด็กดี
2. นักสืบเจ้าปัญญา
3. อังกฤษ
4. เยอรมนี
5. ฝรั่งเศส
6. ประวัติศาสตร์ ญี่ปุ่น
7. เกาหลี
8. รวมข้อสอบโควต้า มช. วิทย์
9. รวมข้อสอบโควต้า มช.ศิลป์
10. 30 คำกิริยา พารู้ศัพท์
11. ศัพท์ 600 คำ 50 วันจำแม่น
12. เก่งอังกฤษคิดจากภาพ
13. คำกริยา ภาษาอังกฤษ
14. ดินแดนมหัศจรรย์
15. ลูกแพร์วิเศษ
16. พจนานุกรม 3 ภาษา อังงกฤษ ไทย จีน
17. สารพันคำกริยาภาษาจีน
18. เคล็ดลับเขียนเก่ง
19. หมีพิทักษฺฝัน
20. มามะฉันจะช่วยฌธอ
21. ตัวเล็กหัวใจร๊อค
22. โจรกรรมดาบทองคำ
23. ฉันเป็นเด็กดี
24. ทำไงดีอยากมีตังค์เยอะ
25.ทำไงดีห้องนี้รกสุด
26. วิทยาศาสตร์สุดอี๋
27. บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
28. วัยใสหัวใจช๊อกโกแลต
29. นักสืบจำเป็น
30. แกะรอยธรรมชาติ

หนังสือใหม่ ประจำเดือน มกราคม 2553

1. โครงงานวิทยาศาสตร์ เล่ม 1 และเล่ม 2
2. โครงงานคณิตศาสตร์
3. โครงงานสังคมศึกษา
4. เตรียมสอบ โอเน็ต ภาษาไทย
5. เตรียมสอบ โอเน็ต เคมี
6. เตรียมสอบ เอเน็ต เคมี
7. เก็งข้อสอบ โอเน็ต คณิตศาสตร์
8. เฉลยข้อสอบโอเน็ต ปี 50,51,52
9. ฟิสิกส์
10. ความถนัดทางแพทย์
11. ติวเข้มฟิสิกส์
12. ความถนัดทางคณิตศาสตร์
13. เฉลยข้อสอบ GAT และ PAT
14. เก็งข้อสอบวิศวกรรม
15. เฉลยข้อบโอเน็ตวิทยาสาสตร์
16. คัมภีร์ชีววิทยา 4-5-6
17. ข้อสอบโอเน็ต ชีววิทยา
18. แนวข้อสอบความถนัดทั่วไป
19. คู่มือเตรียมสอบพยาบาล
20. เฉลยเก็งชีววิทยา

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

การแข่งขันเปิดพจนานุกรมภาษาไทย











แนะนำหนังสือเล่มโปรด
















การแนะนำหนังสือเล่มโปรด เมืองเชลียงปริทรรศน์ 52