วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การเขียนบรรณานุกรม

บรรณานุกรม (Bibliography)
หมายถึง รายชื่อหนังสือ เอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ และ วัสดุอ้างอิงทุกประเภทที่ผู้ทำรายงานใช้ประกอบการค้นคว้าและการเรียบเรียง เพื่อเป็นการยืนยันว่าการเขียนนั้นเป็นการค้นความจากตำราที่เชื่อถือได้

การเขียนบรรณานุกรมมีวิธีการดังนี้
1. เขียนคำว่าบรรณานุกรมโดยไม่ต้อวงขีดเส้นใต้ไว้กลางหน้ากระดาษ ห่างจากขอบบนประมาณสองนิ้ว
2. เขียนรายงานบรรณานุกรมแต่ละรายการชิดชอบซ้ายของหน้ากระดาษ หากเขียนไม่จบในบรรทัดเดียวให้ขึ้นบรรทัดใหม่โดยย่อหน้าเข้าไป 8 ตัวอักษร (หรือตำแหน่งที่ย่อหน้า)
3. เรียงรายชื่อแต่ละรายการตามลำดับตัวอักษรของชื่อผู้แต่ง (ก-ฮ)
4. จัดเรียงเอกสารแยกตามประเภท คือ หนังสือ บทความในวารสาร หนังสือพิมพ์ สารานุกรม วิทยานิพนธ์ จุลสาร เอกสารอัดสำเนา และการสัมภาษณ์ หากรายงานเป็นภาษาไทยให้จัดเรียงเอกสารภาษาไทยไว้เป็นอันดับแรก แต่ถ้ารายงานเป็นภาษาอังกฤษ ให้จัดเรียงเอกสารภาษาอังกฤษไว้เป็นอันดับแรก
5. รายการสิ่งพิมพ์ของผู้แต่งเดียวกัน ในครั้งต่อไปไม่ต้องเขียนชื่อผู้แต่งซ้ำอีก แต่ให้ใช้สัญลักษณ์ประกาศ (________________) ยาว 8 ตัวอักษร แทน
6.เว้นระยะ 1 บรรทัด ทุกครั้งเมื่อขึ้นรายการบรรณานุกรมรายการใหม่

การลงรายการบรรณานุกรมมีหลักเกณฑ์และรายละเอียดดังนี้
1.ผู้แต่ง
1.1 ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ใช้ชื่อสกุลขึ้นต้น ตามด้นชื่อต้น และชื่อรอง เช่นชื่อ Chelie C Cooperใช้ Cooper Chelie C.
1.2 ผู้แต่งที่เป็นพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ และผู้แต่งที่มีราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ ให้ใส่ ราชทินนาม ฐานันดรศักดิ์ สมณศักดิ์ นั้นไว้ข้างหลังชื่อ โดยหลังชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) ส่วนคำนำหน้านาม เช่น นาย นาง นางสาว ตำแหน่งทางวิชาการ อาชีพ หรือยศ ให้ตัดออกไป ยกเว้น นามแฝง เช่น นายตำรา ณ เมืองใต้, ดร.วินแม็ก, หลังชื่อผู้แต่งให้ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
2. ชื่อเรื่อง ให้ใช้ตามที่ปรากฏในหน้าปกและขีดเส้นใต้เน้นชื่อนั้นด้วย หากเป็นหนังสือหลายเล่มจบ ให้ระบุเล่มที่ใช้ หลังชื่อใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)
3. เล่มที่อ้าง หนังสือเล่มเดียวจบ ไม่ต้องระบุจำนวนเล่ม แต่ถ้าหนังสือนั้นมีหลายเล่มให้ระบุเล่มที่ใช้ (เช่น สารานุกรมไทย หรือ Black Law)
4. ครั้งที่พิมพ์ ถ้าเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 2 ขึ้นไปให้ระบุครั้งที่พิมพ์ด้วย หลังครั้งที่พิมพ์ ใส่เครื่องหมาย มหัพภาค (.)
5. สถานที่พิมพ์ ให้ระบุชื่อเมืองที่สำนักพิมพ์ หรือโรงพิมพ์นั้นตั้งอยู่ โดยใช้ชื่อเมืองตามที่ปรากฏในหนังสือเล่มนั้นๆ หากไม่ปรากฏชื่อเมืองให้ใช้ (ม.ป.ท.) หรือ (n.p) สำหรับเอกสารภาษาอังกฤษ คือ ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ หลังครั้งที่พิมพ์ใส่เครื่องหมายทวิภาค ( ; )
6. สำนักพิมพ์ ใช้ตามที่ปรากฏในหน้าปกใน ในกรณีที่มีทั้งสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ ให้ใช้ชื่อสำนักพิมพ์ คำที่เป็นส่วนของสำนักพิมพ์ เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด Incorporation, Inc. ให้ตัดออก ในกรณีที่ไม่ปรากฏชื่อสำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์ ให้ใช้ (ม.ป.ท.) หรือ (n.p.) แทนเพียงครั้งเดียว หลังสำนักพิมพ์ใส่เครื่องหมายจุลภาค (,)
7. ปีที่พิมพ์ ใส่เฉพาะตัวเลข ถ้าไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้ใช้ว่า (ม.ป.ป.) หรือ (n.d.) ในเอกสารภาษาอังกฤษ ถ้าหนังสือไม่ปรากฏทั้งสถานที่พิมพ์และปีที่พิมพ์ ให้ใช้ว่า (ม.ป.ท., หรือ ม.ป.ป.) หรือ (n.p., n.d.) ในภาษาอังกฤษ หลังปีที่พิมพ์ใส่เครื่องหมายมหัพภาค (.)

ตัวอย่างการลงรายการบรรณานุกรม
1. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม หนังสือเล่ม
ชื่อผู้แต่ง.ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์.สำนักพิมพ์.ปีที่พิมพ์.
วิทยากร เชียงกูล. ฉันจึงมาหาความหมาย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2544.
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. หลายชีวิต. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้า, 2548.
2. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมที่มีผู้แต่ง 2 คน
ชื่อผู้แต่งทั้งสองคน. ชื่อหนังสือ. สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.
สมบัติ จำปาเงิน และ สำเนียง มณีกาญจน์. หลักนักอ่าน. กรุงเทพฯ: เรือนแก้ว, 2531.
3. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมหนังสือที่มีผู้แต่งมากกว่า 2 คน
ชื่อผู้แต่ง และผู้แต่งคนอื่นๆ.ชื่อหนังสือ. ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.
อธิษกานต์ ไกรภักดี และคนอื่นๆ. การเมืองและการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ปานเทวา
การพิมพ์, 2541.
4. ตัวอย่างการเขียนบรรณารุกรมหนังสือแปล
ชื่อผู้แต่ง.ชื่อหนังสือ.ชื่อผู้แปล.สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์, ปีที่พิมพ์.วิลเลี่ยม, สตีเวนสัน.
นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ. ทรงแปลโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. กรุงเทพฯ:
อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2539.
5. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากวิทยานิพนธ์
ชื่อผู้แต่ง, “ชื่อวิทยานิพนธ์ หรือสารนิพนธ์.” สาขา และสถาบันการศึกษา, ปีการศึกษา.
ศศิรินทร์ คำบำรุง, “โครงสร้างในด้านข่าวและธุรกิจของศูนย์ข่าวภูมิภาค.” วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์
มหาบัณฑิตสาขาวิชาการหนังสือพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541.
6. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทสัมภาษณ์
ชื่อผู้ให้สัมภาษณ์. ตำแหน่ง (ถ้ามี). สัมภาษณ์,วันที่สัมภาษณ์.
ทักษิณ ชินวัตร. นายกรัฐมนตรี. สัมภาษณ์, 18 มกราคม 2549.

7.ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทความในสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
ชื่อผู้แต่ง. “ชื่อบทความ” [ประเภทของสื่อที่เข้าถึง] <เข้าถึงได้จาก> (วันที่ค้นข้อมูล)
Pasguier, Roger F. “Owl” [Online]. (Feb. 8, 2006)

8. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทความในวารสารหรือนิตยสาร
ชื่อผู้เขียนบทความ “ชื่อบทความ” ชื่อวารสาร. ปีที่, ฉบับที่. (เดือน ปี) : เลขที่หน้าอ้างอิง.
อัลยา นฤชานนท์. “ได้อะไรบ้างจากการอ่านสารคดีการท่องเที่ยว.” เที่ยวรอบโลก. 45,
4 (เมษายน 2540) : 36-40.

9. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทความในหนังสือพิมพ์
ชื่อผู้เขียนบทความ, “ชื่อบทความ,” ชื่อหนังสือพิมพ์ (วัน เดือน ปี): เลขหน้าที่อ้างอิง.
สมเจตน์ วัฒนาธร, “กินบนเรือน ขี้บนหลังคา,” เดลินิวส์. ( 7 กรกฎาคม 2549): 14.

10. ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรมจากบทความในสารานุกรม
ชื่อผู้เขียนบทความ, “ชื่อบทความ,” ชื่อสารานุกรม เล่มที่. (ปีที่พิมพ์) : เลขหน้าที่อ้างอิง.

* ทั้งนี้ การลงรายการบรรณานุกรม มักยึดหลักเกณฑ์ตามรูปแบบที่กำหนด ของสถาบันการศึกษานันๆ ดังนั้น รูปแบบการลงรายการบรรณานุกรมจึงไม่แน่นอน

ขอบคุณมากคะ โดยเฉพาะtames_chan(แอท)hotmail.com ผู้นำมาลงในเวบไซต์นี้

ไม่มีความคิดเห็น: